2. ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก
สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ “การพัฒนาหลักสูตร :
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตร”
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์
มีอยู่ด้วยกันหลักๆ 4 ขั้นตอน คือ 1. ขั้นกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร 2. ขั้นกลั่นกรองข้อมูล 3. ขั้นเลือกประสบการณ์การเรียนรู้
และ 4. ขั้นการประเมิน
1. ขั้นกำหนดจุดประสงค์ของหลักสูตร
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ ซึ่งได้มาจาก ผู้เรียน สังคม
เนื้อหา เช่น ข้อมูลผู้เรียน ข้อมูลสังคม
ข้อมูลเนื้อหาสาระวิชา ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตของผู้สอน การสัมภาษณ์ผู้เรียน
ผู้ปกครอง ข้อมูลจาก แบบสอบถามและทดสอบของผู้เรียน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ ได้นำไป
กำหนดจุดประสงค์ประสงค์ จากนั้น
ต้องนำข้อมูลทางสังคมและข้อมูลจากท้องถิ่นชุมชนมาวิเคราะห์เพื่อกำหนดความจำเป็นในการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนด้วย
2. ขั้นการกลั่นกรอง
มีความจำเป็นที่ต้องใช้พื้นฐานทางด้านปรัชญา และจิตวิทยามาร่วมด้วย
ในด้านปรัชญานั้น ผู้สอนควรนำทั้งปรัชญาทางสังคมและปรัชญาทางการศึกษา
มาพิจารณาด้วย ซึ่งควรคำนึงถึงพื้นฐานความเป็นมนุษย์ในแต่ละคน
ไม่มีข้อจำกัดทางเชื้อชาติ สัญชาติ หรือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม
การมีโอกาสในการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของสังคม
การให้การสนับสนุนของการเปลี่ยนแปลงมากกว่ามุ่งการตอบความต้องการส่วนบุคล ปัญหาสำคัญต่างๆ
ขึ้นอยู่กับความเชื่อ และสติปัญญา มากกว่าขึ้นกับอำนาจรัฐหรือผู้มีอำนาจ
ส่วนพื้นฐานทางจิตวิทยา
ซึ่งไทเลอร์ใช้ในการกำหนดกำหนดกรอบโครงสร้างของกระบวนการเรียนรู้อีกด้วย
ซึ่งความรู้ทางจิตวิทยานี้สามารถช่วยให้เรามีความคิดเห็นที่แตกต่างในจุดหมายที่เป็นไปได้ในระยะเวลาที่ยาวนาน
อีกทั้งยังช่วยให้ความคิดบางอย่างบรรลุผลตามจุดประสงค์ในระยะเวลาที่มีความเป็นไปได้ที่จะบรรลุ
3. ขั้นเลือกประสบการการเรียนรู้
หลังจากมีการกำหนดวัตถุประสงค์ การกลั่นกรองข้อมูลแล้ว
ไทเลอร์ได้ให้คำแนะนำการ เลือกประสบการณ์การเรียนรู้
ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว
เป็นการบูรณาการประสบการณ์ที่จะช่วยพัฒนาผู้เรียนในด้านต่างๆ เช่น ด้านการคิด
ความสนใจ สังคม เป็นต้น
4. ขั้นการประเมินผล
เป็นขั้นประเมินว่าในประสบการณ์จัดการเรียนรู้นั้น บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของทาบา
มีอยู่ 7 ขั้นตอน ดังนี้
1. การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น
เป็นการวิเคราะห์ถึงความต้องการของผู้เรียน สภาพปัญหาต่างๆ กระบวนการในการเรียนรู้
เป็นต้น
2. การกำหนดวัตถุประสงค์
เมื่อเราได้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆแล้ว
เราก็นำมาเป็นแนวทางในการกำหนดวัตถุประสงค์
3. การเลือกเนื้อหาสาระ
ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ อีกทั้ง
คำนึงถึงผู้เรียนด้วย
4. การจัดการเกี่ยวกับเนื้อหาสาระ เมื่อมีการคัดเลือกเนื้อหาสาระแล้ว
ก็นำมาจัดลำดับให้เป็นระบบ
5. การเลือกประสบการณ์ในการเรียนรู้
ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และคำนึงถึงถึงความเหมาะสม
6. การจัดการเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนรู้ เป็นการจัดลำดับ ขั้นตอนอย่างเป็นระบบ
7. การตัดสินใจว่าจะประเมินอะไรและวิธีการประเมิน
ทำให้เราทราบว่าเนื้อหารายวิชามีความเหมาะสมมากน้อยแค่ไหน
การพัฒนาหลักสูตรมีประสิทธิภาพมากเพียงใด
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของเซเลอร์ อเล็กซานเดอร์
และเลวิส
ประกอบไปด้วย 4ขั้นตอน คือ
1. จุดหมาย
วัตถุประสงค์และขอบข่ายที่ต้องการพัฒนา
เริ่มจากการกำหนดจุดหมายสำคัญของหลักสูตร กำหนดวัตถุประสงค์
ที่ต้องการให้ประสบผลสำเร็จ ก่อนการกำหนดจุดหมาย วัตถุประสงค์เราจะพิจารณาจาก
ตัวแปรภายนอก เช่น กฎหมาย ผลการวิจัย สมาคมวิชาชีพ แนวทางนโยบายแห่งรัฐ
นอกจากนี้ควรพิจารณา พื้นฐานของหลักสูตร ได้แก่สังคม ผู้เรียน แลละความรู้
2. การออกแบบหลักสูตร ผู้ออกแบบหลักสูตรควรคำนึงถึง
ธรรมชาติของวิชา รูปแบบของสถาบันทางสังคมที่สำพันธ์กับความสนใจของผู้เรียน
อีกทั้งพิจารณาเลือกเนื้อหาสาระ
และประสบการณ์จัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
3. การนำหลักสูตรไปใช้ หลังจากการออกแบบหลักสูตรแล้ว
ผู้สอนจะมีการวางแผนและจัดทำแผนการสอน รวมทั้งสื่อ วัสดุ เทคโนโลยีต่างๆ
เลือกยุทธวิธีการสอนต่างๆ นำไปใช้ในชั้นเรียน
เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การประเมินหลักสูตร
เป็นขั้นที่นักวางแผนและผู้สอนร่วมกันประเมิน โดยมีวิธีที่หลากหลาย
เพื่อสามารถทำให้ทราบว่าการนำหลักสูตรไปใช้ มีการสัมฤทธิ์ผลมากเพียงใด
แบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรของวิชัย วงษ์ใหญ่
เป็นแบบจำลองการพัฒนาหลักสูตรแบบครบวงจร
ซึ่งประกอบไปด้วย ระบบการร่างหลักสูตร ระบบการใช้หลักสูตร และระบบการประเมิน
ทั้งสามระบบนี้มีความสอดคล้องกัน ซึ่งในการพัฒนาหลักสูตรนั้น
จะมุ่งเน้นไปทางระบบใดระบบหนึ่งไม่ได้
เพราะจะทำให้การพัฒนาหลักสูตรไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ควรพัฒนาไปพร้อมๆกัน มีการวางแผนให้เป็นการพัฒนาที่ครบวงจร
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรมีดังนี้
1. คณะกรรมการการพัฒนาหลักสูตรกำหนดจุดมุ่งหมาย
โดยใช้ข้อมูลจากสภาพปัญหาและความต้องการของสังคม
2. ยกร่างเนื้อหาสาระ แต่ละกลุ่มประสบการณ์
โดยปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขาวิชา กำหนดผลการเรียนรุ้ จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
แผนจัดการเรียนรู้และสื่อ กิจกรรมการเรียนการสอนรายกลุ่มและรายบุคคล
3. ทดลองใช้หลักสูตรในสถานศึกษานำร่อง
โดยคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรกำหนดไว้ ถ้ามีข้อบกพร่อง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
4. อบรมผู้สอน ผู้บริหารทุกระดับ
บุคลากรทางการศึกษาให้เข้าใจหลักสูตรใหม่ เพื่อนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
ตรงตามวัตถุประสงค์
5. การปฏิบัติการสอน
เป็นการสนับสนุนให้ผู้บริหารและผู้สอน
นำหลักสูตรไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์ในสถานศึกษาต่อไป
แบบจำลอง SU Model นี้ ได้แนวคิดมาจาก
สามเหลี่ยมมุมมน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดย
มล.ปิ่นมาลากุล อธิการบดี
และรักษาการคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ได้ให้แนวนโยบายพัฒนานักศึกษาทั้ง สามด้าน คือ
จริยศาสตร์ เกี่ยวกับการอบรมทางศีลธรรม
ด้านพุทธิศึกษา ให้ปัญญาความรู้ และ ด้านพลศึกษา
เป็นการฝึกร่างกายให้แข็งแรง สำหรับเป้าหมายทางการศึกษา คือ
การมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเก่ง ดี และมีความสุข ซึ่งในการพัฒนาหลักสูตร
ได้ให้ความสำคัญกับทั้งสามด้าน คือ ด้านปรัชญาการศึกษา ด้านจิตวิทยา และด้านสังคม
จึงนำไปสู่สามเหลี่ยมการพัฒนาหลักสูตรซึ่งเป็นหลักสูตรที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
สามเหลี่ยมแรกเป็นการวางแผนหลักสูตร
การกำหนดจุดมุ่งหมายที่แน่นอน ชัดเจน เมื่อประมวลออกมาแล้ว จะได้เป็นวิสัยทัศน์
เปรียบเสมือนเข็มทิศที่จะชี้นำไปสู่จุดมุ่งหมาย
สามเหลี่ยมที่สองเป็นการออกแบบ
ซึ่งจะนำจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมาสร้างกรอบในการปฎิบัติ
การออกแบบหลักสูตรก็เพื่อให้มีการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์ที่ตอบสนองจุดหมายและจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
นั้นคือ พันธกิจ
สามเหลี่ยมรูปสาม การจัดระบบหลักสูตร เพื่อตอบสนองการวางแผนหลักสูตร
ซึ่งเป็นขั้นตอนการเขียนแผนการสอนที่จะทำให้นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
การจัดหลักสูตรให้มีประสิทธิภาพ รวมถึง
กระบวนการบริหารที่สนับสนุนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การนิเทศการศึกษา
การนิเทศการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
สามเหลี่ยมรูปที่สี่
การประเมินเป็นการประเมินทั้งระบบหลักสูตร และผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร
นอกจากนี้การประเมินผู้เรียนหลังการสอน
จะเป็นการช่วยพัฒนาผู้เรียนและส่งเสริมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
รูปแบบการประเมิน เช่น การประเมินแบบรูบิค
การประเมินพฤติกรรมผู้เรียนจากการสังเกตการณ์เข้ากลุ่ม การร่วมทำกิจกรรม
นอกจากจะประเมินความรู้แล้วยังประเมินความสุขของผู้เรียนอีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น