สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เรื่อง ประเภทของหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร
1.
หลักสูตรแบบเนื้อหาวิชาหรือแบบรายวิชา ( The Subject
Curriculum) หลักสูตรที่เน้นการถ่ายทอดเนื้อหาวิชา
2. หลักสูตรแบบสัมพันธ์วิชา (
Correlated Curriculum) เป็นหลักสูตรที่นำเนื้อหาต่างๆ
ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันและมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันจัดไว้ด้วยกัน
3. หลักสูตรแบบหมวดวิชาหรือสหสัมพันธ์
(The Broard Field Curriculum) จุดมุ่งหมาย
ผสมผสานเนื้อหาวิชา เช่น หลักสูตรประถมศึกษา และหลักสูตรมัธยมศึกษา พ.ศ. 2503
4. หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์
(The Activities And Experience Curriculum) เป็นการแก้ไขข้อบกพร่องของหลักสูตรแบบรายวิชาที่ไม่คำนึงถึงความต้องการและความสนใจของผู้เรียน
5. หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม
(The Social Process And Life Function Curriculum) หลักสูตรนี้จะยึดเอาสังคมและชีวิตของเด็กเป็นหลัก
6. หลักสูตรแกนกลาง (The
Core Curriculum) หลักสูตรแบบนี้จะกำหนดวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นศูนย์กลาง
7. หลักสูตรแบบเอกัตภาพ (The
Individual Curriculum) จัดเนื้อหาตามความเหมาะสมและความต้องการของผู้เรียนแต่ละบุคคล
แนวคิดจาดปรัชญา อัตถิภาวนานิยม
8. หลักสูตรบูรณาการ (The
Integrated Curriculum) เป็นการผสมผสานเนื้อหาเข้าด้วยกัน
ไม่แยกเป็นรายวิชาจะเน้นที่ตัวเด็ก และปัญหาสังคมเป็นสำคัญ เช่น
หลักสูตรประถมศึกษา พ.ศ. 2521
การออกแบบหลักสูตรประเภทต่างๆ
หลักสูตรประเภทต่างๆ
ได้มีการจำแนกประเภทหรือรูปแบบของหลักสูตรไว้หลายรูปแบบด้วยกัน ซึ่งแต่ละ
รูปแบบก็มีแนวคิดจุดมุ่งหมาย และโครงสร้างที่แตกต่างก็ออกไป
ทั้งนี้เพื่อให้หลักสูตรมีความเหมาะสมกับสถานการณ์การจัดการเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย
หรือเพื่อให้สนองเจตนารมณ์ของการจัดการเรียนรู้ลักษณะใดลักษณะหนึ่งตามระดับการศึกษา
ดังนั้นหลักสูตรแต่ละรูปแบบจึงมีลักษณะเฉพาะของตนเอง
รวมทั้งต่างก็มีข้อดีและข้อด้อยด้วยกันทั้งสิ้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจในรูปแบบของหลักสูตร
(curriculum desigh) แบบต่าง ๆ ซึ่งมีไม่ต่ำกว่า 10รูปแบบได้ดียิ่งขึ้น จึงได้มีการจัดประเภทรูปแบบของหลักสูตร
ตามเกณฑ์ที่ยึดเป็นประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. หลักสูตรที่ยึดสาขาวิชาและเนื้อหาสาระเป็นหลัก (disciplines
/ subjects curriculum) กลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับการจัดเนื้อหาสาระวิชาที่จะเรียน
มีรูปแบบของหลักสูตร 5 รูปแบบ ดังนี้
1.1 หลักสูตรรายวิชา หรือหลักสูตรเนื้อหาวิชา (subject matter
curriculum)
1.2 หลักสูตรกว้าง หรือหลักสูตรหมวดวิชา (broad field
curriculum) หรือหลักสูตรหลอมรวมวิชา (fusion
-curriculum)
1.3 หลักสูตรสัมพันธ์วิชา หรือหลักสูตรแบบสหสัมพันธ์ (correlated
curriculum)
1.4 หลักสูตรแบบแกนกลาง หรือหลักสูตรแบบแกนร่วมกัน หรือหลักสูตรแบบแกน (core
curriculum)
1.5 หลักสูตรแบบบูรณาการ (integrated curriculum)
2. หลักสูตรที่ยึดผู้เรียนเป็นหลัก (learners
centred) หลักการของหลักสูตรนี้ยึด ผู้เรียนเป็นสำคัญ
จัดหลักสูตรเพื่อสนองความต้องการ ความสามารถและความสนใจของผู้เรียนเป็นหลัก
มีรูปแบบของหลักสูตร
3 รูปแบบดังนี้
2.1 หลักสูตรแบบเอกัตบุคคล (individualized curriculum)
2.2 หลักสูตรแบบส่วนบุคคล (personalized curriculum)
2.3 หลักสูตรที่เน้นผู้เรียน (child – centered curriculum) หรือหลักสูตรที่ใช้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง(leaner – centred
curriculum)
3. หลักสูตรที่ยึดกระบวนการทางทักษะหรือประสบการณ์เป็นหลัก (process
skill or experiencecurriculum) การจัดหลักสูตรประเภทนี้เป็นการเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน
และให้ผู้เรียนได้รู้จักการแก้ปัญหา
ถ้าเป็นหลักสูตรที่ยึดกระบวนการเป็นหลักจะมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนมีรูปแบบของหลักสูตร 3 รูปแบบ ดังนี้
3.1 หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม
หรือหลักสูตรที่ยึดกิจกรรมกระบวนการทางสังคมและการดำรงชีวิต (socialprocess
and life function curriculum)
3.2 หลักสูตรประสบการณ์ (experience curriculum) หรือหลักสูตรแบบกิจกรรมและประสบการณ์(activity
and experience curriculum)
3.3 หลักสูตรกระบวนการ (the process approach curriculum)
3.4 หลักสูตรเกณฑ์ความสามารถ (the competency – based curriculum)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น