วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2561

กิจกรรมที่ 3 (2)


2.       ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่วมเจริญ การพัฒนาหลักสูตร : ทฤษฎีและการปฏิบัติ “การพัฒนาหลักสูตร : การออกแบบหลักสูตร”




กระบวนการพัฒนาหลักสูตร
                การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design) เป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร โดยในที่นี้จะนำเสนอแนวคิดและรูปแบบกระบวนการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ (Tyler’s Model Curriculum Development) เพื่อใช้ในการอธิบายเนื่องจากเป็นรูปแบบที่สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายที่สุด และนำไปใช้เป็นแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรต่างๆได้เป็นอย่างดี
                Ralph Tyler ได้ให้แนวคิดในการพัฒนาหลักสูตรว่าหลักสูตรที่ดีจำเป็นต้องตอบคำถามพื้นฐานจำนวน 4 ข้อ คือ
1)    What is the purpose of the education? (มีจุดมุ่งหมายทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจะแสวงหา)
2)    What educational experiences will attain the purposes? (มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้างที่โรงเรียนควรจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้)
3)    How can these experiences be effectively organized? (จะจัดประสบการณ์ทางการศึกษาอย่างไร จึงจะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ)
4)    How can we determine when the purposes are met? (  จะประเมินผลประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไร  จึงจะตัดสินได้ว่าบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้)
                นอกจากคำถามดังกล่าวแล้ว Tyler ยังได้เสนอหลักการในการพัฒนาหลักสูตรว่าประกอบด้วย 4 หลักการ คือ
1)    Planning (การวางแผนของหลักสูตร)
2)    Design (การออกแบบหลักสูตร)
3)    Organize (การจักการหลักสูตร)
4)    Evaluation (การประเมินหลักสูตร)
                โดยเมื่อนำหลักการของไทเลอร์มาเทียบเคียงกับคำถามที่เป็นปัจจัยพื้นฐาน จะพบว่ามีความสอดคล้องกันดังนี้
คำถามปัจจัยพื้นฐาน
หลักการพัฒนาหลักสูตร
1. What is the purpose of the education? (จะสอนอะไร)
1. Planning (การวางแผนหลักสูตร)
2. What educational experiences will attain the purposes? (จะเอาอะไรมาสอน)
2. Design (การออกแบบหลักสูตร)
3. How can these experiences be effectively organized? (จะสอนอย่างไร)
3. Organize (การวางแผนการใช้หลักสูตร)
4. How can we determine when the purposes are met?(จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้)
4. Evaluation (การประเมินหลักสูตร)



Tyler’s Model Curriculum Development
  
                โมเดลการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดของไทเลอร์นี้ ได้ดัดแปลงมาจากโมเดลของ Ornstein and Hunskin (1998)โดยได้นำคำถามที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการทำหลักสูตรของไทเลอร์ (สัญลักษณ์ Q) มากำกับในขั้นตอนต่างๆของกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามหลักการของไทเลอร์ ดังนี้
                กระบวนการในการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์สามารถกำหนดได้เป็น 2 ช่วงหลัก คือ ช่วงที่ 1 ยังไม่มีหลักสูตร และ ช่วงที่ 2 มีหลักสูตรเกิดขึ้นมาแล้ว โดยมีรายละเอียดดังนี้ ในช่วงที่ยังไม่มีหลักสูตร จะเริ่มต้นจาก Tentative Objectives(กำหนดวัตถุประสงค์ชั่วคราว) จะเป็นการตอบคำถามข้อที่ 1 คือ จะเอาอะไรมาสอน โดยข้อมูลที่จะเป็นนั้นจะได้จากแหล่งข้อมูล (Source) ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลด้านผู้เรียน (Learner) ข้อมูลจากผู้รู้ (Subject Matter) และข้อมูลพื้นฐานทางสังคม (Social) จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้เข้าสู่กระบวนการกลั่นกรอง (Screens) โดยมีพื้นฐานที่สำคัญคือ พื้นฐานทางด้านปรัชญา (Philosophy) พื้นฐานทางจิตวิทยา (Psychology) และพื้นฐานทางสังคม (Social) เมื่อสิ้นสุดกระบวนการกลั่นกรองนี้แล้วจะได้หลักสูตรเกิดขึ้นมา ที่มีวัตถุประสงค์ที่ถาวร (Tentative Objectives) ซึ่งได้มาจากการออกแบบ (Design) ที่มีแนวคิดในการออกแบบดังที่กล่าวในตอนต้น โดยในขั้นนี้จะเป็นการตอบคำถามข้อที่ 2 ว่าเราจะสอนอะไรให้กับผู้เรียนบ้าง ถัดจากขั้นตอนของการออกแบบจึงเข้าสู่ช่วงการวางแผนการใช้หลักสูตร (Organize) เป็นการตอบคำถามข้อที่ 3 ว่าจะจัดการสอนให้กับผู้เรียนอย่างไร (Selected Experiences) โดยครูผู้สอนเป็นผู้มีบทบาทหน้าที่ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับหลักสูตร และจากนั้นจึงเข้าสู่รูปแบบของการประเมิน (Evaluation) เป็นการตอบคำถามข้อที่ 4 ว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ โดยในการประเมินนี้จะแบ่งการประเมินออกเป็น 2 ส่วน คือ การประเมินหลักสูตร และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน

การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design)
คำสำคัญ (Key words)     
·       หลัก 7 ประการในการออกแบบหลักสูตร (7 principles in curriculum design)
·       ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (3Rs+7Cs)  
·       สี่เสาหลักทางการศึกษา (Four Pillars)                         
·       World Class Education   
                “ทุกสิ่งโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โลกเปลี่ยนจึงทำให้สังคมเปลี่ยน สังคมเปลี่ยนทักษะที่ใช้ในการดำรงชีวิตของมนุษย์จึงต้องเปลี่ยน เมื่อทักษะเปลี่ยนมนุษย์จึงต้องเปลี่ยน เมื่อมนุษย์เปลี่ยนการเรียนรู้ของมนุษย์จึงเปลี่ยนตาม และเมื่อการเรียนรู้เปลี่ยนแปลงไปการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การเรียน การสอน จึงต้องเปลี่ยนตาม”
                จากคำกล่าวข้างต้นนี้สามารถเป็นคำตอบได้ดีสำหรับคำถามที่ว่า “เพราะเหตุใดจึงต้องมีการออกแบบหลักสูตร” ต้องยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งบนโลกล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของมนุษย์ดังนั้นในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในยุคปัจจุบัน หรือในอนาคตนั้น ครูผู้สอนจะต้องไม่เน้นการสอน แต่ต้องเน้นออกแบบการจัดการเรียนรู้ เน้นการสร้างแรงบันดาลใจ เน้นเป็นโค้ชไม่ใช่ผู้สอน ครูต้องเรียนรู้ทักษะและทฤษฎีว่าด้วยการเป็นครูอย่างต่อเนื่อง เช่น ทักษะการวินิจฉัย ทำความรู้จัก ทำความเข้าใจศิษย์  ทักษะการออกแบบการเรียนรู้  ทักษะการเรียนรู้ และสร้างความรู้ใหม่ จึงเป็นที่มาว่าทำไมหลักสูตรจึงต้องมีการออกแบบให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงนั่นเอง
                จากการศึกษาในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตรพบว่าในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร(Curriculum Design) เป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการพัฒนาที่มีความสำคัญโดยจากการศึกษารูปแบบโมเดลการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ (Tyler’s Model of Curriculum Development) ทำให้ได้ทราบถึงขั้นตอนต่างๆในการจัดทำหลักสูตร โดยหนึ่งในนั้นมีขั้นตอนในการออกแบบหลักสูตรรวมอยู่ด้วย เบื้องต้นในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงแนวคิดสำคัญที่ใช้เป็นหลักยึดในการออกแบบหลักสูตร ตลอดจนอธิบายถึงกระบวนการพัฒนาหลักสูตรด้วยรูปแบบโมเดลของไทเลอร์ (Tyler’s Model Curriculum Development)
หลักการสำคัญในการออกแบบหลับสูตร
                การออกแบบหลักสูตรนั้นจำเป็นต้องมีหลักการต่างๆขึ้นมาเพื่อรองรับ เพื่อให้หลักสูตรนั้นเป็นหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ เหมาะกับการนำไปใช้ และเหมาะกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สำหรับหลักการสำคัญสิ่งแรกที่ควรพิจารณาคือ ความเป็น World Class Education เป็นการจัดการศึกษาเพื่อเป็นไปอย่างสากล และยังมีหลักการที่ใช้เป็นหลักยึดในการออกแบบหลักสูตรนั้นอื่นๆอีก ได้แก่
1.     หลัก 7 ประการในการออกแบบหลักสูตร (7 principles of curriculum design)
        เป็นหลักคิดเพื่อการสร้างหลักสูตรที่ดีมีประสิทธิภาพ โดยได้กล่าวว่าการออกแบบการจัดการเรียนรู้หรือหลักสูตรนั้นต้องประกอบด้วยพื้นฐาน 7 ประการ คือ
·     Challenge and enjoyment (ค้นหาศักยภาพและความสุข) คือ หลักสูตรต้องได้รับการออกแบบให้นักเรียนได้ค้นหาศักยภาพและกระตุ้นนักเรียนให้มีความสนใจในการเรียนรู้
·     Breadths (ความกว้าง) คือ หลักสูตรที่ดีต้องเปิดกว้างในการเรียนรู้ เพราะการเรียนรู้มีได้หลากหลายแนวทาง
·     Progressions (ความก้าวหน้า) คือ หลักสูตรต้องออกแบบมาให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาไปสู้ความก้าวหน้าที่ผู้เรียนตั้งเป้าไว้
·     Depths (ความลึกซึ้ง) คือ หลักสูตรต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้อย่างลึกซึ้ง ที่สำคัญคือ หลักสูตรต้องให้โอกาสนักเรียนได้ใช้
·     Coherence (ความเกี่ยวข้อง) คือ หลักสูตรที่ดีต้องมีเนื้อหาและจุดประสงค์ที่สนองกับบริบทที่จะนำหลักสูตรไปใช้
·     Relevance (ความสัมพันธ์กัน) คือ เนื้อหาในหลักสูตรต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับจุดประสงค์
·     Personalization and choice (ความเป็นเอกลักษณ์และตัวเลือก) คือ หลักสูตรที่ดีต้องให้นักเรียนได้ค้นพบเอกลักษณ์ของตนเองและมีทางเลือกในการแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเอง 

2.     ทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 (3Rs+7Cs)
        ศ. น.พ.วิจารณ์  พานิชได้กล่าวถึงการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ว่า การศึกษาต้องเตรียมคนออกไปเป็นknowledge worker และเป็น learning person ไม่ว่าจะประกอบสัมมาชีพใด มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นlearning person และเป็น knowledge worker แม้แต่ชาวนาหรือเกษตรกรก็ต้องเป็น learning person และเป็นknowledge worker ดังนั้นทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษที่ 21 จึงเป็นทักษะของการเรียนรู้ (learning skills) ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวิต ด้วยเหตุนี้ทักษะดังกล่าวจึงเป็นที่สำคัญที่ผู้เรียนพึ่งมีในศตวรรษที่21 ซึ่งหลักสูตรต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีทักษะที่สำคัญและสามารถใช้ชีวิตในสังคมศตวรรษที่21ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยก่อนหน้านี้การศึกษาของเรายึดหลัก 3Rs คือ เน้นการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียน อ่านออก เขียนได้ และคิดเลขเป็น และต่อมาจึงได้เพิ่มเติมรวมหลัก 7Cs ที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 เข้าด้วยกัน จึงกลายเป็นหลัก 3Rs+7Cs ดังนี้
3Rs
·       Reading (อ่านออก)
·       Writing (เขียนได้)
·       Arithmetic (คิดเลขเป็น)
7Cs
·    Critical Thinking & Problem solving  คือ ทักษะในการคิดวิเคราะห์ และการคิดแก้ปัญหา
·    Creativity & Innovation คือ ทักษะที่เมื่อคุณคิดวิเคราะห์แล้ว คุณต้องสร้างสรรค์ได้ หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ได้
·    Cross-Cultural understanding คือ ทักษะที่เน้นความเข้าใจในกลุ่มคนในหลากหลายชาติพันธ์ เพราะเราเป็นสังคมโลก
·    Collaboration Teamwork & leadership คือ ทักษะการทำงานเป็นทีม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ความเป็นผู้นำ
·    Communication information and media literacy  คือ ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการรู้จักข้อมูล ความสามารถในการเข้าใจสื่อ
·    ICT literacy  คือ ความสามารถในยุคของ Digital age ความสามารถในการใช้เครื่องเทคโนโลยี
·    Career and Life skill คือ ทักษะการใช้ชีวิต คือทักษะการประกอบอาชีพ หรืออาจหมายถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคมของเรา
ดังที่ได้กล่าวมาเมื่อนำกหลัก 7Cs มาจัดกลุ่ม สามารถแบ่งออกได้ 3 ส่วน คือ
·     การพัฒนาด้านความคิด ได้แก่ Critical Thinking, Creativity, Collaboration, และ Cross-Culture
·     ความสามารถความเข้าใจ (Literacy) ได้แก่ Information, Communication, Media, และ ICT
·     ทักษะการใช้ชีวิต (Life Skill) ได้แก่ การมองโลกหรือคนอื่นรอบๆ เป็นศูนย์กลางไม่ใช่มองตนเองเป็นศูนย์กลาง

3.     สี่เสาหลักของการศึกษา (The four Pillars of Education)
        พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้คำอธิบายไว้ว่าหมายถึง หลักสำคัญ ๔ ประการของการศึกษาตลอดชีวิต ตามคำอธิบายของคณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๑ ซึ่งได้เสนอรายงานเรื่อง Learning : The Treasure Within  ต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อ ค.ศ. ๑๙๙๕  ว่าการศึกษาตลอดชีวิตมีหลักสำคัญ ๔ ประการ ได้แก่
1.     การเรียนเพื่อรู้  (Learning to Know) การเรียนที่ผสมผสานความรู้ทั่วไปกับความรู้ใหม่ในเรื่องต่าง ๆ อย่างละเอียดลึกซึ้ง และยังหมายรวมถึงการฝึกฝนวิธีเรียนรู้ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต
2.     การเรียนรู้เพื่อปฏิบัติได้จริง  (Learning to Do) การเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ และปฏิบัติงานได้ เป็นการเรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์ต่าง ๆ ทางสังคมและในการประกอบอาชีพ
3.     การเรียนรู้เพื่อการอยู่ร่วมกัน  (Learning to Live Together) การเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลเข้าใจผู้อื่นและตระหนักดีว่า มนุษย์เราจะต้องพึ่งพาอาศัยกัน ดำเนินโครงการร่วมกันและเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ โดยตระหนักในความแตกต่างหลากหลาย ความเข้าใจอันดีต่อกันและสันติภาพ ว่าเป็นสิ่งล้ำค่าคู่ควรแก่การหวงแหน
4.     การเรียนรู้เพื่อชีวิต (Learning to Be) การเรียนรู้ที่ช่วยให้บุคคลสามารถปรับปรุงบุคลิกภาพของตนได้ดีขึ้น ดำเนินงานต่าง ๆ โดยอิสระยิ่งขึ้น มีดุลพินิจ และความรับผิดชอบต่อตนเองมากขึ้น การจัดการศึกษาต้องไม่ละเลยศักยภาพในด้านใดด้านหนึ่งของบุคคล เช่น ความจำ การใช้เหตุผล ความซาบซึ้งในสุนทรียภาพ สมรรถนะทางร่างกาย ทักษะในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาหลักสูตร โดย   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดก...