วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561

บทที่ 8 การวางแผนพัฒนาหลักสูตร



บทที่ 8
การวางแผนพัฒนาหลักสูตร

มโนทัศน์(Concept)
              การวางแผนจัดทำหลักสูตรบุคคลที่มีหน้าที่วางแผนจัดทำหลักสูตรต้องร่วมกันจัดทำแผนและจัดทำหลักสูตรตามขั้นตอนอย่างละเอียดสามารถตรวจสอบแต่ละขั้นว่าเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่  อย่างไร  หากมีปัญหาก็สามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้  การกำหนดแผนการเรียนการสอนในหลักสูตรจะช่วยให้ทราบว่าจะต้องจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากน้อยเพียงใด และอย่างไร ทั้งยังสามารถกำหนดสื่อการเรียนการสอนการประเมินผลเพื่อให้เหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ทั้งรายกลุ่ม และรายบุคคล

ผลการเรียนรู้(Learning Outcome)
1. มีความรู้  ความเข้าใจ การวางแผนพัฒนาหลักสูตร
2. มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น และแหล่งเรียนรู้
3. สามารถให้ข้อเสนอแนะในการแต่งตั้งคณะกรรมการและหน้าที่รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับ
การวางแผนพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นได้

สาระเนื้อหา(Content)

การวางแผนพัฒนาหลักสูตร

              การพัฒนาหลักสูตรเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องดำเนินการอยู่เสมอและจะกระทำทุกครั้งเมื่อสังคมมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นจะทำให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนประสบการณ์ขึ้นมาใหม่และพร้อมที่จะนำประสบการณ์และความรู้ที่เกิดขึ้นมานั้นไปพัฒนาตนและสังคมให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้น
               Saylor and Alexander (1966 : 7) ได้สรุปว่า การวางแผนพัฒนาหลักสูตร ต้องประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ดังนี้


              1. หลักสูตร
                   1.ตัวผู้เรียนเอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและสังคมเองมองเห็นนักเรียนคืออะไร มีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมอย่างไรบ้าง สังคมต้องการอะไรจากนักเรียน และนักเรียนต้องการอะไรทั้งในแง่ของส่วนบุคคล และสังคม
                   1.หน้าที่และจุดมุ่งหมายของโรงเรียนคืออะไร โรงเรียนมีแนวคิดยึดปรัชญาสาขาใดและมีแนวปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมายนั้นอย่างไร
                   1.ธรรมชาติของความรู้นั้นเป็นอย่างไร ขอบข่ายของความรู้ที่จำเป็นต้องศึกษานั้นมีมากน้อยแค่ไหน อย่างไร อะไรเป็นสิ่งจำเป็นก่อนและหลังหรือลำดับของความรู้เป็นอย่างไร
                   1.กระบวนการการเรียนรู้เป็นอย่างไร ลำดับหรือขั้นตอนของการเรียนรู้เป็นอย่างไร สิ่งที่นักพัฒนาหลักสูตรต้องคำนึงถึงการพัฒนาหลักสูตรในขั้นตอนแรกก็คือ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับสังคม ปรัชญา ผู้เรียน และกระบวนการเรียนรู้
              2. บุคคลที่ทำหน้าที่วางแผนพัฒนาหลักสูตร
                   2.นักการศึกษาในทุกระดับ ตั้งแต่อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย เป็นต้น
                   2.ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เช่น นักเรียน ผู้ปกครอง สมาชิกในชุมชนและสมาคมต่างๆ เป็นต้น
              3. ผู้ตัดสินใจเลือกใช้หลักสูตร
              ผู้ทำหน้าที่เลือกใช้หลักสูตร คือ นักพัฒนาหลักสูตรซึ่งประกอบด้วยครู นักศึกษา  ผู้บริหารการศึกษา  ผู้ปกครอง  ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ ประกอบขึ้นเป็นกรรมการดำเนินการพัฒนาหลักสูตร โดยทำหน้าที่คัดเลือกและจัดระบบเนื้อหาสาระตลอดทั้งแบบเรียนกำหนดระบบการเรียน การสอน  และการตัดสินใจเลือกนั้นกระทำตามลำดับและขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบรรพต  สุวรรณประเสริฐ (2544: 16) ได้เสนอรูปแบบการวางแผนหลักสูตรซึ่งต้องมีองค์ประกอบสำคัญได้แก่การกำหนดหลักสูตรนักวางแผนหลักสูตรการตัดสินใจหลักสูตร และแผนหลักสูตร
              การวางแผนการพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการที่สำคัญอย่างหนึ่งของการพัฒนาหลักสูตรที่จะทำให้หลักสูตรเกิดความสมบูรณ์  ดังนั้น  ก่อนที่จะพัฒนาหลักสูตรนักพัฒนาหลักสูตรจะต้องกำหนดแผนการพัฒนาหลักสูตร จะต้องกำหนดแผนการพัฒนาหลักสูตรดังนี้
              1. การศึกษาปัญหาหรือการกำหนดปัญหาที่เกิดขึ้นในหลักสูตรเดิม
              2.การกำหนดข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาข้อมูลที่กำหนดจะต้องเป็นข้อมูลที่สนองตอบต่อปัญหาที่ได้มาจากการศึกษาปัญหา
              3. การกำหนดสมมติฐานว่าหลักสูตรที่จะต้องได้รับการพัฒนานั้นจะบังเกิดผลต่อผู้เรียนอย่างไร
              4.กำหนดแนวทางในการดำเนินงานขั้นตอนในการดำเนินงานจะต้องกำหนดเวลาอย่างแน่นอนเพื่อจะได้เห็นกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตั้งแต่ต้นจนสำเร็จ
              5. การคัดเลือกบุคลากรมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาหลักสูตรจะสำเร็จได้นั้นจำเป็นต้องมีบุคคลากรที่มีคุณภาพในการทำงานบุคลากรที่ควรกำหนดในแผนได้แก่ นักพัฒนาหลักสูตร นักวิชาการศึกษา ศึกษานิเทศก์และครูผู้สอน

1. การเรียนการสอนโดยการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น                                
              โลกในยุคมีความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีการสื่อสารอย่างมาก และไม่หยุดยั้ง ทำให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่างๆ แพร่ถึงกันทั่วโลกได้อย่าสะดวกและรวดเร็วโลกในปัจจุบันจึงเป็นโลกไร้พรมแดน  การจัดการศึกษาจึงต้องพัฒนาผู้เรียนให้สามารถคัดสรรหรือนำความรู้ ข่าวสาร ข้อมูลต่างๆอันเป็นสากลมาพัฒนาความเจริญก้าวหน้าของตน สังคม และประเทศชาติได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
              การจัดการศึกษานอกจากจะพัฒนาผู้เรียนให้มีความสากลแล้วยังจะต้องคงทนความเป็นท้องถิ่นของผู้เรียนไว้ด้วย  ผู้เรียนจึงสามารถดำรงชีวิตได้อย่างสอดคล้องกลมกลืนกับสภาพต่างๆ ในท้องถิ่นอย่างมีความสุข มีความรัก มีความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน สามารถไก้ไขและพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม  การจัดการศึกษาต้องร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนกับท้องถิ่น เป็นทวิภาคีร่วมกันในการสร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนและแก้ปัญหาในชุมชนหรือท้องถิ่น
ความหมายของแหล่งการเรียนรู้
            แหล่งการเรียนรู้หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศและประสบการณ์ที่สนับสนุนส่งเสริมสร้างให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้ และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัยอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง  เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ (กระทรวงศึกษาธิการ : 43)
            จากความหมายของแหล่งการเรียนรู้ที่กล่าวข้างต้น  อาจกล่าวได้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเราเป็นแหล่งการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น  การเรียนรู้จึงเกิดขึ้นได้ทุกเวลา  ทุกสถานที่  โรงเรียนที่มีฐานะรับผิดชอบโดยตรงในการจัดการศึกษา  จึงต้องสร้างหรือจัดหาแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลายขึ้นในโรงเรียน  นอกจากนี้  ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 29 ได้เน้นให้สถานศึกษาร่วมกับบุคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ  สถาบันศาสนา  สถานประกอบการ  และสถาบันสังคมอื่น จัดกบวนการเรียนรู้ภายในชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพ ปัญหาและความต้องการ ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนในทุกสถานศึกษา  ครูต้องเปลี่ยนวิธีการสอนจากการเรียนในหนังสื่อหรือในห้องเรียน  ไปสู่การเรียนรู้ตามสภาพจริงในชุมชนหรือท้องถิ่น จึงจะเอื้อให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการจัดหรือพัฒนาการศึกษา  และเอื้อต่อสถานศึกษาหรือผู้เรียนในกรมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน
2. แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน
              แหล่งการเรียนรู้ที่โรงเรียนสามารถจัดดำเนินการเพื่อให้ครู  อาจารย์  และผู้เรียน ได้ศึกษาหาความรู้และประสบการณ์  มีหลายประเภทขึ้นอยู่กับกำลังความสามารถของโรงเรียนแต่ละแห่ง  ตัวอย่างเช่น  ห้องสมุดโรงเรียน  ห้องสมุดหมวดวิชา  ห้องสมุดเคลื่อนที่  มุมหนังสือในห้องเรียน  ห้องพิพิธภัณฑ์  ห้องมัลติมีเดีย  ห้องคอมพิวเตอร์  ห้องอินเตอร์เน็ต  ศูนย์วิชาการ  ศูนย์วิทยาบริการ  ศูนย์สื่อการเรียนการสอน  ศูนย์พัฒนากิจกรรมการเรียนการสอน  สวนพฤกษศาสตร์  สวนวรรณคดี  สวนสมุนไพร  สวนสุขภาพ  สวนหนังสือ สวนธรรมะ ฯลฯ

3. แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
            แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นซึ่งจะเอื้อประโยชน์ในการเรียนรู้ที่หลากหลายในการจัดการเรียนการสอนมี 6 ประเภท ดังนี้
1.    บุคคล หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในงานเฉพาะสาขาหรืองานอาชีพต่างๆ ซึ่งโรงเรียนอาจเชิญมาเป็นวิทยากรในบางชั่วโมง หรืออาจจ้างสอนเป็นรายวิชาหรือเชิญเป็นอาสาสมัครสอน  เป็นพิเศษ ได้แก่ เกษตร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักธุรกิจ พระสงฆ์ ช่างฝีมือ เกษตรตำบล ผู้ที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ  ผู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นต้น
2.       สถาบัน หน่วยงาน หรือองค์กรทางสังคม แบ่งได้ 2 ประเภทดังนี้
2.1     สถานศึกษา พัฒนาและให้บริการประชาชน หมายถึง หน่วยงานที่ให้การศึกษา พัฒนาความรู้ ความสามารถ เจตคติ ได้แก่ โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย สถานีอนามัย โรงพยาบาล ห้องสมุด วัด สถานีทดลองข้าว สถานีประมง พิพิธภัณฑ์ ศูนย์ฝึกอบรม ฯลฯ เป็นต้น
2.2     สถานประกอบการทางธุรกิจ การค้า อุตสาหกรรม และอาชีพอิสระ ได้แก่ ร้านค้า โรงงาน ฟาร์ม ฟาร์มเลี้ยงไก่ ร้านซ่อมรถจักรยาน ร้านขายอาหาร ไร่ข้าวโพด นาเกลือ สวนมะม่วง ฯลฯ เป็นต้น
3.    สถานที่ที่เป็นแหล่งธรรมชาติ ได้แก่ แม่น้ำ ทะเล ภูเขา ป่าไม้ น้ำตก  ห้วย หนอง คลอง บึง ฯลฯ เป็นต้น
4.       วัสดุและเศษวัสดุต่างๆที่มีในท้องถิ่น  แบ่งได้  ประเภทคือ
4.1     วัสดุและเศษวัสดุที่ได้จากธรรมชาติ ได้แก่ แร่ธาตุ ดิน หิน ทราย พืช เปลือกไม้ เมล็ดข้าว ใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ ฯลฯ เป็นต้น
4.2     วัสดุและเศษวัสดุที่ได้จากการผลิตหรือการประดิษฐ์ขึ้นโดยมนุษย์ ได้แก่ กระดาษ กล่องกระดาษ ขวดแก้ว ขวดพลาสติก เศษไม้ เศษผ้า เศษกระดาษ    เศษกระจก กระป๋อง ฝาขวดน้ำอัดลม ฯลฯ เป็นต้น
5.       สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น แผ่นพับ วารสาร หนังสือพิมพ์หนังสือ รูปภาพ ฯลฯ
6.       สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อินเตอร์เน็ต แผ่นซีดี – รอม บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(CAI)   วีดีทัศน์ ภาพยนตร์ฯลฯ

4. ประโยชน์ของการเรียนการสอนโดยการใช้แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
            การใช้แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น มีประโยชน์ต่อการจัดการเรียนการสอน ดังนี้
            1.ทำให้นักเรียนรู้จัก และใช้ประโยชน์จากสิ่งต่างๆที่มีอยู่และหาได้ง่าย ในท้องถิ่นของตน สามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการศึกษามาพัฒนาชีวิต ความเป็นอยู่หรือการนำมาใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ สามารถปรับการดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพท้องถิ่น จึงสามารถอยู่กับท้องถิ่นได้อย่างเป็นสุข
            2.ทำให้นักเรียนรัก ภูมิใจ มองเห็นคุณค่า หวงแหน อนุรักษ์ และช่วยทำนุบำรุงรักษาท้องถิ่นของตน เพราะนักเรียนได้พึ่งพาแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ที่มีในท้องถิ่นในการพัฒนาศักยภาพของตน ถ้าแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ต้องศูนย์เสียไปโดยเปล่าประโยชน์ก็จะส่งผลให้คุณภาพชีวิตของนักเรียนต้องลดน้อยถอยลงหรือได้ผลกระทบตามไปด้วย
            3.ช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ เพราะนักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงได้เห็นจริงและได้ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง การนำวิทยากรมาสู่ห้องเรียนหรือการพานักเรียนไปศึกษานอกโรงเรียน ทำให้นักเรียนได้เปลี่ยนบรรยากาศจากการเรียนที่จำเจ ไปสู่การเรียนที่แปลกใหม่ นักเรียนจึงเกิดความสนใจและความกระตือรือร้นในการเรียน นอกจากนี้ การนำวัสดุในท้องถิ่นมาจัดการเรียนการสอนยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง และของทางราชการอีกด้วย
            4.ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครูหรือขาดครูที่มีความรู้ความชำนาญในการสอนบางเนื้อหาบทเรียน การนำวิทยากรในท้องถิ่นที่มีความรู้ ความสามารถมากกว่าครูมาช่วยสอนทำให้นักเรียนได้รับความรู้ ความเข้าใจ อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ เต็มตามหลักสูตร
            5.การใช้วิทยากรหรือแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น ทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนกับชุมชน เกิดความเข้าใจกัน ให้ความร่วมมือและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการจัดการศึกษาหรือพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้น
5. แนวทางการใช้แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
            การใช้แหล่งการเรียนในท้องถิ่น  เพื่อประโยชน์ต่อการเรียนการสอนมีแนวทางกว้างๆ ดังนี้
            1.สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น จัดทำระบบการเก็บรวบรวมข้อมูลให้ทันสมัย สะดวกต่อการค้นหา
            2.ศึกษาหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรต่างๆเพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมที่จะใช้แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์และสอดคล้องกับหลักสูตร
            3.ประยุกต์ใช้วัสดุและเศษวัสดุที่มีในท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดหลักการหรือความคิดรวบยอดตามหลักสูตรแกนกลาง ทดลองใช้จนเกิดความมั่นใจแล้วจึงได้นำมาให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ
            4.ครูและนักเรียนร่วมมือกันเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ในท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ เพื่อประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
            5.บันทึกผลการเรียนการสอนโดยการใช้แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น ทั้งเป็นลายลักษณ์อักษรและรูปภาพ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนา ปรับปรุง หรือนำมาใช้ในโอกาสต่อไป
            6.ปรับปรุง แก้ไข พัฒนา การเรียนการสอนโดยใช้แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นให้ดีขึ้นอยู่เสมอ ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อคุณภาพของการเรียนการสอนแล้ว ยังเห็นการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโรงเรียนได้ด้วย

6. หลักการจัดหาแหล่งการเรียนรู้
            ในแต่ละท้องถิ่นย่อมมีแหล่งการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไป  การจัดหาแหล่งการเรียนรู้เพื่อการเรียนการสอน  มีหลัก 6ประการดังนี้ (คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติสำนักงาน 2524 :9-10)
            1.ความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น แหล่งการเรียนรู้ที่จะนำมาใช้จัดการเรียนการสอนควรเหมาะสมกับสภาพต่างๆ ในท้องถิ่น เช่น สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ อาชีพหลักของประชาชน ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี เศรษฐกิจเป็นต้น
            2.ความสะดวกในการเดินทางและการติดต่อ แหล่งการเรียนรู้ที่ดี ต้องเป็นแหล่งที่เดินทาง  ไปมา และสามารถติดต่อสื่อสารได้สะดวก เพื่อประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายต่างๆ ทำให้ได้รับประโยชน์อย่างคุ้มค่า
            3.ความประหยัดและประโยชน์ การใช้แหล่งเรียนรู้ที่ดีต้องคำนึงถึงเวลาและเงินที่ต้องใช้ในการดำเนินการและประโยชน์ตอบแทนที่จะได้รับด้วย ถ้านำมาใช้แล้วเสียเงินและเวลามากแต่ได้ประโยชน์น้อยก็ไม่สมควรใช้ เช่น พาไปศึกษาที่ซึ่งห่างไกลจากโรงเรียนมาก ครูและนักเรียนต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาก ทำให้นักเรียนเหนื่อยจึงไม่มีความสนใจเท่าที่ควร
            4.ความเหมาะสมกับบทเรียนและวัยของผู้เรียน เช่น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ควรเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ไม่สลับซับซ่อนนัก หรือให้ดูโดยรวม ไม่ต้องดูส่วนย่อยๆ เช่น พาไปดูโรงงานทอผ้าควรให้ดูเกี่ยวกับ สถานที่ วัตถุดิบ และผลผลิต ไม่ควรดูกระบวนการผลิต นอกจากนี้ วิทยากรควรใช้ภาษาง่ายๆ ที่เด็กในวัยนี้เขาใจได้ดี
            5.ความปลอดภัยและความถูกต้อง หมายถึง ความปลอดภัยทั้งในการเดินทาง ในขณะศึกษาหาความรู้ และในการนำไปใช้ด้วย   ส่วนความถูกต้องนั้น หมายถึง ความรู้หรือประสบการณ์ที่ได้รับจะต้องถูกต้อง ตรงตามหลักวิชา
            6.ความรู้และประโยชน์ที่หลากหลากหลาย  เช่น  พานักเรียนไปดูการทำและจำหน่ายเครื่องจักสาน  นักเรียนจะได้รับความรู้เกี่ยวกับวัสดุดิบที่ใช้  กระบวนการผลิต  รูปแบบของชิ้นงาน การประดิษฐ์ลวดลายต่างๆ ประโยชน์ในการใช้งาน  การจัดจำหน่าย  ได้เห็นภูมิปัญญาของชาวบ้านในการดัดแปลงวัสดุที่มีในท้องถิ่นให้เป็นประโยชน์  ได้เห็นวิธีการจัดร้าน วิธีการคิดราคาสินค้า เป็นการศึกษาแบบบูรณาการทั้งในด้านการทำงาน การประกอบอาชีพในชุมชน  การประกอบธุรกิจ  การรวมกลุ่ม  ความคิดสร้างสรรค์  และศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น  เป็นต้น

7. ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรและการใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น 
            ผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร
                        ต้องมีการร่วมมือกันหลายฝ่ายเพื่อให้ผลงานออกมาตรงเป้าหมาย ได้แก่
            1.นักบริหารหลักสูตร ได้แก่ อธิบดีกรมวิชาการ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหลักสูตร ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาหนังสือฯ
            2. นักวิชาการ ได้แก่ อาจารย์ในมหาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ
            3. ครู อาจารย์ ศึกษานิเทศก์
            4. นักบริหาร ได้แก่ ผู้บริหารในระดับต่างๆ
            5. บุคคลภายนอก ได้แก่ บุคคลอื่นๆ นอกจากที่กล่าวมาและเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร
6. หน่วยสนับสนุนการใช้หลักสูตร ได้แก่ 
                         - หน่วยผลิตชุดการสอน และวัสดุอุปกรณ์ 
                         - หน่วยผลิตสื่อสารการเรียนการสอนอื่น ๆ 
                         - หน่วยนิเทศและประสานงาน 
                         - หน่วยทดสอบและประเมินผลการเรียนในโรงเรียน 
                         - หน่วยแนะแนวในโรงเรียน

การใช้หลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
            เนื้อหาสาระของหลักสูตรท้องถิ่น แยกได้ 4 ประเภท คือ
1.       เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจ ของท้องถิ่น
2.       เนื้อหาที่เกี่ยวกับจุดเด่นของท้องถิ่นที่ผู้เรียนควรทราบ เพื่อให้เกิดความภูมิใจ
3.       เนื้อหาที่เกี่ยวกับนโยบาย วิสัยทัศน์ของท้องถิ่น
4.       เนื้อหาที่เกี่ยวกับนโยบาย ของประเทศที่เกี่ยวข้องกับท้องถิ่น

              วิธีนำเนื้อหาท้องถิ่นมาสู่หลักสูตรและการสอน
              1. สำรวจสภาพภูมิอากาศ ประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม ศาสนา เศรษฐกิจของท้องถิ่น โดยได้จากการอ่านเอกสารจากหน่วยงานปกครอง หน่วยงานที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว หน่วยงานที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ เอกสารในห้องสมุดที่เกี่ยวกับท้องถิ่น แล้วนำมาวิเคราะห์ สรุป เป็นเนื้อหาสาระของท้องถิ่น
ตัวอย่าง: จังหวัดนครพนม
1. จุดเด่นของจังหวัดนครพนมที่จะมาใส่ในหลักสูตรท้องถิ่น สรุปได้ดังนี้
            1) ภาคภูมิศาสตร์ เป็นจังหวัดชายแดนที่ติดต่อกับประเทศลาว และใกล้กับประเทศเวียตนาม
            2) ประวัติศาสตร์ จังหวัดนครพนม เป็นจังหวัดชายแดนตั้งเลียบชายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง ตรงข้ามกับเมืองท่าแขก ริมฝั่งแม่น้ำโขง ในดินแดนที่ราบสูง อดีตเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์อันรุ่งเรือง ได้ถูกเปลี่ยนเป็น "มรุกขนคร" และต่อมาได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น "นครพนม" แขวงคำม่วนของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นที่ประดิษฐานพระธาตุพนมอันศักดิ์สิทธิ์และเก่าแก่
3) ศาสนา มีศาสนาสำคัญ คือ ศาสนาพุทธ คริสต์ ที่ทำให้ประชาชนสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีสันติ
            4) สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดนครพนม คือ พระธาตุพนม นอกจากนี้ยังมีพระธาตุอื่นๆ ที่ชาวจังหวัดนครพนมเคารพนับถือ ได้แก่ พระธาตุประสิทธิ์ พระธาตุท่าอุเทน พระธาตุเรณู                 พระธาตุศรีคุณ พระธาตุนคร และพระธาตุมหาชัย เป็นต้น ซึ่งถือเป็นเมืองพระธาตุโดยแท้  5) คำขวัญ ได้แก่: พระธาตุพนมค่าล้ำ วัฒนธรรมหลากหลาย เรณูผู้ไท เรือไฟโสภางามตาฝั่งโขง
6) ต้นไม้ประจำจังหวัด: กันเกรา (Fagraea fragrans)
              2. นำเนื้อหาดังกล่าวมาพิจารณาว่าจะเกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้ใดตัวอย่างจังหวัดนครพนม
สาระการเรียนรู้
เนื้อหาท้องถิ่น เช่น
1. ภาษาไทย
ภาษา 7 ชนเผ่า
2. คณิตศาสตร์
ข้อมูลด้านภูมิศาสตร์ หาด เกาะ ดินฟ้าอากาศ ที่ทำกิน อาชีพ สภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
3. วิทยาศาสตร์
วิธีทำเกษตร การดูแลสภาพป่าต่างๆ
4. สังคมวิทยา ศาสนาวัฒนธรรม
วัฒนธรรมของคน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ อาหาร อาชีพ และเศรษฐกิจสังคม
5. สุขศึกษา พลศึกษา
คุณค่าทางโภชนาการ
6. ศิลปะ
การทอผ้ามัดหมี่ ลายผ้าทอ
7. การงาน อาชีพ และเทคโนโลยี
เน้นอาชีพของคนนครพนม การเกษตร
8. ภาษาต่างประเทศ
ภาษาอังกฤษ

3. นำเนื้อหามาผสมผสานกับเนื้อหาในหลักสูตรใหม่ อาจทำได้หลายลักษณะ เช่น
            ก) ใช้เป็นเนื้อหาสอน เช่น เมื่อสอนเรื่อง ตนเองและครอบครัวก็ใช้สภาพจริงเป็นเนื้อหา
            ข) ใช้เป็นแบบฝึกหัดให้นักเรียนไปทำ เช่น การประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่นมีกี่อาชีพ อะไรบ้าง มีผู้ทำร้อยละเท่าไร
            ค) ใช้เป็นโครงงาน ให้นักเรียนไปหาทางแก้ไข
            ง) ใช้ปัญหาเป็นฐาน ให้นักเรียนไปหาทางแก้ไข
            จ) ใช้เป็นประเด็น ให้นักเรียนไปค้นคว้า ตัวอย่างเช่น นครพนม แปลว่า มีลักษณะอย่างไร มากน้อยเพียงใด มีอะไรสูญหายไปบ้างหรือไม่ ถ้าสูญหายทำไมจึงสูญหายไป
            ฉ) ใช้เป็นสถานที่ไปทัศนศึกษา เช่น พระธาตุต่างๆ




สรุป(Summary)
              การวางแผนพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ในที่นี้เป็นการนำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มาจัดทำเป็นหลักสูตรสถานศึกษา ใช้ข้อมูลหรือแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น กล่าวคือ  การวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลท้องถิ่น แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น และทรัพยากรบุคคลในท้องถิ่น มาบูรณาการการจัดกระบวนการทางการศึกษาการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการวางแผนพัฒนาหลักสูตรจะเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ หลักสูตรเดิมที่ใช้กันอยู่ก่อนแล้วว่ามีผลต่อการใช้ปัจจุบันอย่างไรหากหลักสูตรเดิมไม่สนองต่อความต้องการของสังคมและผู้เรียนในปัจจุบันอันจะส่งผลไปสู่อนาคตเพื่อการผลิตคนสู่อนาคตแล้วก็ให้นำผลที่ได้มาเป็นข้อมูลในการวางแผนสร้างหลักสูตรใหม่
การจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น  เริ่มจากครูและนักเรียนร่วมกันสำรวจและจัดทำข้องมูลเกี่ยวกับบุคลากร  องค์กรทางสังคม  แหล่งการเรียนรู้ทางธรรมชาติ  และวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นที่สามารถนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอนเนื้อหาต่างๆ ไว้อย่างเป็นระบบระเบียบเพื่อความสะดวกในการใช้งาน  ครูอาจจะพาผู้เรียนไปศึกษาและฝึกการทำงานในสถานที่จริงที่บ้านหรือ หน่วยงาน หรือสถานประกอบการต่างๆ ที่มีในท้องถิ่น  ครูอาจจะเชิญผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ  หรือผู้ที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพต่างๆ มาเป็นวิทยากรในโรงเรียน   การเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นของตน  จะทำให้ผู้เรียนไม่เกิดความแปลกแยกกับท้องถิ่น  สามารถนำเนินชีวิตและพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างสอดคล้องกับความเป็นจริงรอบๆ ตัว  การเปิดโอกาสให้บุคลากรในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการเรียนการสอน เป็นการประสานความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างโรงเรียนและชุมชน  เป็นการผนึกกำลังร่วมกันเพื่อสร้างสรรค์พัฒนาการศึกษาและท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้าตามความต้องการและเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมต่างๆ  ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา วัฒนธรรม ฯลฯ ซึ่งจะเป็นการพัฒนาที่มั่นคงและยั่งยืน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาหลักสูตร โดย   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดก...