วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2561
วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2561
การประเมินผลของโซโล แฮปโซโลมี่
การกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ : SOLO Taxonomy
คำสำคัญ (Key word)
· SOLO
· Taxonomy
SOLO: The
Structure of Observed Learning Outcome คือ
โครงสร้างการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้
Taxonomy มีความหมายเดียวกับคำว่า Classification คือ
การจัดแบ่งประเภท แต่ Taxonomy นั้น จะกล่าวถึง
หลักทางวิชาการที่ใช้เพื่อระบุประเภทของสิ่งมีชีวิตทางชีววิทยาที่มีลักษณะร่วมกันและทำการกำหนดชื่อให้กับกลุ่มสิ่งมีชีวิตนั้นๆ
หากกล่าวถึงการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
ผู้สอนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเกณฑ์การกำหนดคุณภาพของ Bloom หรือ Bloom’s
Taxonomy ซึ่งหากศึกษาดูแล้วเราจะพบว่า Bloom’s Taxonomy นั่นมีแนวโน้มที่จะถูกใช้โดยผู้สอนเสียเป็นส่วนมาก
แต่ถ้าหากการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียนนั้นมีผู้เรียนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดด้วยแล้ว
หลักการที่จะต้องพูดถึงนั่นก็คือ SOLO Taxonomy ซึ่งเป็นการกำหนดระดับผลการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยที่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะแค่การสอนและการให้คะแนนจากผลงานแต่เพียงอย่างเดียว
แต่เป็นกระบวนการประเมินผลที่ให้ความสำคัญว่า ผู้เรียนมีวิธีการเรียนรู้อย่างไร
และผู้สอนมีวิธีการอย่างไรที่ช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการทางปัญญาที่มีความซับซ้อนและก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น
SOLO
Taxonomy หรือ The Structure of Observed Learning Outcome
Taxonomy จึงเป็นแบบ (Model) ที่ใช้ในการใช้ระบุ
บรรยาย หรืออธิบาย
ระดับความเข้าใจอันซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นของผู้เรียนในสาระหรือรายวิชา
ซึ่งผู้เสนอแนวคิดนี้จนกลายเป็นที่นิยมคือ John B. Biggs และ
Kelvin Collis (1982)
แบบของ SOLO Taxonomy ประกอบด้วยระดับความเข้าใจ 5 ระดับ
ดังนี้
1. Pre-structural
(ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน) คือ
ในระดับนี้ผู้เรียนจะยังคงไม่เข้าใจจุดมุ่งหมายที่แท้จริง และยังคงใช้วิธีการง่ายๆในการทำความเข้าใจสาระเนื้อหา
เช่น ผู้เรียนรับทราบแต่ยังคงพลาดประเด็นที่สำคัญ
2. Uni-structural
(ระดับมุมมองเดียว) คือ
การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งไปที่มุมมองที่เกี่ยวข้องเพียงมุมมองเดียว เช่น
สามารถระบุชื่อได้ จำได้ และทำตามคำสั่งง่ายๆได้
3. Multi-structural
(ระดับหลายมุมมอง) คือ
การตอบสนองของผู้เรียนจะมุ่งเน้นไปที่หลายๆมุมมองโดยการปฏิบัติต่อผู้เรียนจะเป็นไปอย่างอิสระ
เช่น สามารถอธิบายได้ ยกตัวอย่างได้ หรืออาจเชื่อมโยงได้
4. Relational (ระดับเห็นความสัมพันธ์) คือ การบูรณาการความสัมพันธ์ต่างๆเชื่อมโยงเข้าด้วยกัน
เช่น ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ระบุความแตกต่าง แสดงความสัมพันธ์
อธิบายเชิงเหตุผล และ/หรือนำไปใช้ได้
5. Extended
abstract (ระดับขยายนามธรรม) คือ
จากขั้นบูรณาการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน
จากนั้นจึงมาสู่การสร้างเป็นแนวคิดนามธรรมขั้นสูง หรือการสร้างทฤษฎีใหม่ เช่น
การสร้างสรรค์ สะท้อนแนวคิด สร้างทฤษฏีใหม่ เป็นต้น
3R x 7C
บทความเรื่องทักษะของคนในศตวรรษที่
21 ที่เขียนโดย ศ. น.พ.วิจารณ์ พานิชได้กล่าวว่า การศึกษาในศตวรรษที่
21 ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย
และตลอดชีวิต คือ 3R x 7C
3R ได้แก่ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้) และ (A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)
7C ได้แก่ Critical thinking &
problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
และทักษะในการแก้ปัญหา)
Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์
และนวัตกรรม)
Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม
ต่างกระบวนทัศน์)
Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ)
Communications, information & media literacy (ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ)
Computing & ICT literacy (ทักษะด้านคอมพิวเตอร์
และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
Career & learning skills (ทักษะอาชีพ
และทักษะการเรียนรู้)
ดังนั้นทักษะของคนต้องเตรียมคนออกไปเป็น knowledge worker โดยครูเพื่อศิษย์นั้นจะต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองโดยสิ้นเชิงเพื่อให้เป็น
“ครูเพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21” ไม่ใช่ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่
20 หรือศตวรรษที่ 19 ที่เตรียมคนออกไปทำงานในสายพานการผลิตในยุคอุตสาหกรรม
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องเตรียมคนออกไปเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้
(knowledge worker) และเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ (learning
person) ไม่ว่าจะประกอบ สัมมาชีพใด มนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ต้องเป็นบุคคลพร้อมเรียนรู้ และเป็น คนทำงานที่ใช้ความรู้ แม้จะเป็นชาวนาหรือเกษตรกรก็ต้องเป็นคนที่พร้อมเรียนรู้
และเป็นคนทำงานที่ใช้ความรู้ ดังนั้น ทักษะสำคัญที่สุดของศตวรรษ ที่ 21 จึงเป็นทักษะของการเรียนรู้ (learning
skills)
ครูเพื่อศิษย์เองต้องเรียนรู้ 3R x 7C และต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต
แม้เกษียณอายุจากการเป็นครูประจำการไปแล้ว
เพราะเป็นการเรียนรู้เพื่อชีวิตของตนเอง ระหว่างเป็นครูประจำการก็เรียนรู้สำหรับเป็นครูเพื่อศิษย์
และเพื่อการดำรงชีวิตของตนเอง โดยย้ำว่าครูต้องเลิกเป็น
“ผู้สอน” ผันตัวเองมาเป็นโค้ช หรือ facilitator ของการเรียนของศิษย์
ที่ส่วนใหญ่เรียนแบบ PBL คือโรงเรียนในศตวรรษที่
๒๑ ต้องเลิกเน้นสอน หันมาเน้นเรียน เน้นทั้งการเรียนของศิษย์
และของครู
บทบาทของครูในศตวรรษที่ 21
การศึกษาที่ดีสำหรับคนยุคใหม่นั้น
ไม่เหมือนการศึกษาเมื่อสิบหรือยี่สิบปีที่แล้ว
การศึกษาที่มีคุณภาพจะต้องเปลี่ยนรูปแบบการเรียนรู้ของศิษย์ไปอย่างสิ้นเชิง และบทบาทของครูอาจารย์ก็ต้องเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง
ครูที่รักศิษย์ เอาใจใส่ศิษย์
แต่ยังใช้วิธีสอนแบบเดิม ๆ
จะไม่ใช่ครูที่ทำประโยชน์แก่ศิษย์อย่างแท้จริง กล่าวคือ
ครูที่มีใจแก่ศิษย์ยังไม่พอ ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนจุดสนใจหรือจุดเน้นจากการสอน
ไปเป็นเน้นที่การเรียน (ทั้งของศิษย์ และของตนเอง)
ต้องเรียนรู้และปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้ที่ตนจัดให้แก่ศิษย์ด้วย ครูเพื่อศิษย์ต้องเปลี่ยนบทบาทของตนเองจาก
“ครูสอน” (teacher) ไปเป็น “ครูฝึก” (coach)หรือ “ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้” (learning facilitator) และต้องเรียนรู้ทักษะในการท าหน้าที่นี้
โดยรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องที่เรียกว่า PLC
(Professional Learning community)(วิจารณ์ พานิช, 2555, คำนำ)
ครูในศตวรรษที่ 21 ต้องยึดหลักสอนน้อย เรียนมาก
การเรียนรู้ในศตวรรษที่21 ต้องก้าวข้าสาระวิชา
ไปสู่การเรียนรู้
“ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ ๒๑” ( 21st Century Skills) ที่ครูสอนไม่ได้ นักเรียนต้องเรียนเอง
หรือพูดใหม่ว่าครูต้องไม่สอน แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวก (facilitate)
ในการเรียนรู้ ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือทำ
แล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจและสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า PBL
(Project-Based Learning)
ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21 ได้แก่
สาระวิชาหลัก
• ภาษาแม่ และภาษาโลก
• ศิลปะ• วิทยาศาสตร์
• ภูมิศาสตร์
• ประวัติศาสตร์
• คณิตศาสตร์
• เศรษฐศาสตร์
• รัฐ และความเป็นพลเมืองดี
หัวข้อสำหรับศตวรรษที่ 21
• ความรู้เกี่ยวกับโลก
• ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ
และการเป็นผู้ประกอบการ
• ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองดี
• ความรู้ด้านสุขภาพ
• ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
• ความริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
• การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
• การสื่อสารและการร่วมมือ
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
• ความรู้ด้านสารสนเทศ
• ความรู้เกี่ยวกับสื่อ
• ความรู้ด้านเทคโนโลยี
ทักษะชีวิตและอาชีพ
• ความยืดหยุ่นและปรับตัว
• การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
• ทักษะสังคมและสังคมข้ามวัฒนธรรม
• การเป็นผู้สร้างหรือผลิต (productivity)
และความรับผิดรับชอบเชื่อถือได้ accountability)
• ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ (responsibility)
นอกจากนั้นโรงเรียนและครูต้องจัดระบบสนับสนุนการเรียนรู้ต่อไปนี้
• มาตรฐานและการประเมินในยุคศตวรรษที่ 21
• หลักสูตรและการเรียนการสอนสำหรับศตวรรษที่
21
• การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21
• สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนในศตวรรษที่
21
เก่ง ดี มีสุข
การศึกษาจะต้องช่วยขยาย
“ขอบฟ้าแห่งความรู้” ให้คนเราอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อหน้าที่ที่รับผิดชอบ
ชีวิตในอุดมคติ คือ ชีวิตของคนที่ทั้งเก่ง ดี และมีความสุข
แต่ในบรรดาองค์ประกอบของชีวิตอุดมคติดังกล่าว
เชื่อกันว่าความสุขสำคัญที่สุดในฐานะที่เป็นพื้นฐานของชีวิต นอกจากนั้นแล้ว
ความสุขยังเป็นฐานของความเก่งและความดีอีกด้วย
เราจะเป็นคนเก่ง ถ้าเราสามารถคิดเชื่อมโยงระหว่างจุดที่เราอยู่กับจุดที่เราคาดหวังจะเกิดขึ้น เราจะเป็นคนดีมีน้ำใจถ้าเราสามารถคิดเชื่อมโยงตัวเราเองเข้ากับคนอื่นทั้งหลาย เราจะรู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา และเราจะมีความสุข ถ้ารู้จักคิดเชื่อมโยงจนเห็นว่าสิ่งทั้งหลายนั้นก็เกิดดับตามเหตุปัจจัย รู้แล้วละ รู้แล้ววาง ดังนั้นคุณลักษณะ เก่ง ดี มีสุข ที่เป็นการพัฒนาชีวิตนั้นจึงจัดเป็นองค์รวมของการพัฒนาชีวิต
ความเก่งของมนุษย์ในด้านสติปัญญา (IQ) เคยเป็นคุณลักษณะที่เป็นยอดปรารถนาของมนุษย์ทุกคนที่ปรารถนาจะเป็นคนฉลาดที่มีสติปัญญาดี แต่ข้อค้นพบทางทฤษฎีและงานวิจัยต่างๆ
ในระยะหลังกลับพบว่าความเก่งทางด้านสติปัญญาเพียงอย่างเดียวเป็นสิ่งที่ไม่เพียงพอที่จะทำให้มนุษย์สามารถบรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการมีชีวิตที่สมบูรณ์ได้ เพราะการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์นั้น นอกจากจะมีความสามารถในการเรียนรู้องค์ความรู้แล้วมนุษย์ควรจะต้องเรียนรู้ตัวเอง
รวมทั้งเรียนรู้ที่จะอยู่กับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากเทคโนโลยีรวมทั้งมนุษย์อื่นๆ โดยมีพื้นฐานของความดีงามเป็นเครื่องรองรับ ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงความเก่งก็จะหมายถึงทั้งความฉลาดทั้งในด้านสติปัญญา และความฉลาดทางด้านอารมณ์ ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นต้องพัฒนาควบคู่กันไป
ความเก่งตามมาตรฐานการเรียนรู้ข้างต้น เป็นความเก่งที่มีลักษณะของการใช้ความคิด การใช้สติปัญญา และลักษณะของการทำงานที่เรียกว่า คิดเป็น ทำเป็น
คิดเป็น คือการใช้ความคิดอย่างมีเหตุผล คิดเชื่อมโยงในความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆทำให้เกิดปัญญา มีโลกทัศน์กว้างขวางที่สามารถสร้างความรู้ใหม่ได้ และการคิดเป็นย่อมนำไปสู่คุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านอื่นๆ เช่น การทำเป็น และการอยู่ร่วมกันเป็น การคิดเป็นจัดว่าเป็นความเก่งทั้งทางด้านสติปัญญา (ไอคิว) และความเก่งทางด้านอารมณ์ (อีคิว)
ทำเป็น เป็นความเก่งในด้านพฤติกรรมของมนุษย์ การทำเป็นในทัศนะของศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี คือการที่มนุษย์เรียนรู้จากการทำ การทำงานเป็นโดยเฉพาะการสร้างเป็น จะช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้จากการทำงาน เกิดปีติ และภูมิใจในผลงาน หรือถ้ามีรายได้จากการทำงานด้วย ก็จะเกิดคุณค่าของเงินที่ได้มาจากการทุ่มเทแรงกายแรงสติปัญญาในการทำงานนี้ นอกจากทักษะที่กล่าวมาแล้ว การเป็นคนเก่งในด้านพฤติกรรมยังหมายถึง การเป็นคนชอบบันทึก มีทักษะในด้านการสื่อสาร มีทักษะในการเผชิญสถานการณ์และทักษะในการจัดการเป็นต้น
สำหรับคุณลักษณะ “ดี” และ “มีสุข” อาจขยายความโดยเปรียบเทียบกับคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในทัศนะของศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี ที่ต่อจากการคิดเป็น ทำเป็น คือ การอยู่ร่วมกันเป็น การอยู่ร่วมกัน เป็นการเรียนรู้ทักษะที่เน้นในด้านจริยธรรม โดยมนุษย์จะต้องอาศัย คุณธรรมพื้นฐานร่วมกับการคิดเป็น และทำเป็น ซึ่งเป็นลักษณะของคนเก่งประกอบกัน
จึงจะทำให้มนุษย์สามารถมีทักษะในการอยู่ร่วมกันเป็นทั้งการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติ และมนุษย์กับเทคโนโลยี ซึ่งการเรียนรู้ที่จะเกิดทักษะในด้านนี้จะต้องประกอบด้วยการพัฒนาในด้านอารมณ์ ความรู้สึก (จิตใจ) ในแง่บูรณา-การกับการคิดเป็นและการทำเป็นด้วย
คุณธรรมพื้นฐานนั้นควรได้รับการฝึกฝนและปลูกฝังในจิตใจ เพื่อให้เกิดทักษะชีวิต คือความเป็นคนดี ที่สามารถนำไปใช้ควบคู่กับ ความเป็นผู้ที่มีสติปัญญา ได้อย่างเหมาะสม เพราะในความเป็นจริง ความเก่งหรือความสามารถทางสติปัญญาแต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถสร้างสรรค์ให้สังคมสงบสุขได้ ในทำนองเดียวกัน
ความดีอย่างเดียวก็ไม่เพียงพอสำหรับการพัฒนาชีวิตและสร้างสรรค์สังคมของมนุษย์ให้เจริญก้าวหน้าไปได้ เพราะความดีจะต้องมีปัญญาเป็นสิ่งพึ่งพิง เป็นหลัก เป็นแนวทางให้คนดีได้แสดงออกในด้านการกระทำเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและต่อสังคมแวดล้อม
คำว่า “เก่ง – ดี – มีสุข” เป็นคำที่เริ่มต้นจากฝ่ายการศึกษา
ต่อมาได้มีผู้นำไปใช้อย่างแพร่หลายเพราะเป็นคำพูดง่ายติดปาก
แม้แต่กระผมเองยังพูดแต่คำว่า เก่ง
- ดี - มีสุข แต่ความหมายจริง ๆ หมายความว่าอะไร ยังไม่รู้เลย
ผมจึงหาความหมายของ เก่ง – ดี – มีสุข ในแง่ต่าง ๆ มาเล่าสู่กันฟัง
การศึกษา คำว่าเก่ง – ดี – มีสุข
มีความหมายดังนี้
เก่ง หมายถึง ความสามารถทางพุทธิปัญญา คือ
ความรู้ความเข้าใจที่แจ่มแจ้งสามารถนำไปใช้ได้ วิเคราะห์เป็น สังเคราะห์ได้
ประเมินได้อย่างเข้าใจ และรู้แจ้งตามศักยภาพ
ทักษะปฏิบัติ คือ
มีความรู้แจ้งแล้วยังมีความชำนาญปฏิบัติได้เป็นอย่างดี
ทั้งที่เป็นทั้งทักษะฝีมือและทักษะทางปัญญา
ดี หมายถึง เป็นผู้มีเจตคตินิยมที่ดีทั้งต่อการเรียน
ความเป็นอยู่ต่อบุคคล ต่อสังคม ชุมชน และประเทศ
มีสุข หมายถึง สนุกกับการเรียนและใคร่เรียนรู้ตลอดชีวิต
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ให้ความหมายของคำว่า เก่ง – ดี – มีสุข กับความฉลาดทางอารมณ์ไว้ดังนี้
ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง
ความสามารถทางอารมณ์ในการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข
โดยมีองค์ประกอบความฉลาดทางอารมณ์ดังนี้
เก่ง หมายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ
สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดีกับผู้อื่น
ประกอบด้วยความสามารถดังต่อไปนี้
1. รู้จักและมีแรงจูงใจในตนเอง
2. รู้ศักยภาพตนเอง
3. สร้างขวัญและกำลังใจให้ตนเองได้
4. มีความมุมานะไปสู่เป้าหมาย
5. ตัดสินใจและแก้ปัญหา
6. รับรู้และเข้าใจปัญหา
7. มีขั้นตอนในการแก้ปัญหา
8. มีความยืดหยุ่น
9. มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
10. สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
11. กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
12. แสดงความคิดเห็นขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
ดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการตนเอง
รู้จักเห็นใจผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อส่วนร่วม ประกอบด้วยความสามารถต่อไปนี้
1. ควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง
2. รู้อารมณ์และความต้องการของตนเอง
3. ควบคุมอารมณ์และความต้องการได้
4. เห็นใจผู้อื่น
5. ใส่ใจผู้อื่น
6. เข้าใจยอมรับผู้อื่น
7. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
สุข หมายถึง ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างมีสุข ประกอบด้วย
1. ภูมิใจในตนเอง
2. เห็นคุณค่าในตนเอง
3. เชื่อมั่นในตนเอง
4. พึงพอใจในชีวิต
5. มองโลกในแง่ดี
6. มีอารมณ์ขัน
7. พอใจในสิ่งมี่ตนมีอยู่
8. มีความสงบทางใจ
9. มีกิจกรรมที่เสริมสร้างความสุข
10. รู้จักผ่อนคลาย
11. มีความสงบทางจิตใจ
วันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2561
NPU Model
ผู้วิจัยได้สังเคราะห์เป็นแบบจำลองการสอน เรียกว่า NPU Model ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 N- Need Analysis
1.1 วิเคราะห์จุดหมายในการเรียนรู้นักศึกษาวิเคราะห์หลักการจัดการศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21 และจุดหมายของการศึกษาในระดับสากล (World class Education) เพื่อกำาหนดจุดหมายในการเรียนรู้วิชา “การพัฒนาหลักสูตร”และนำไปกำหนดจุดหมายของหลักสูตรที่นักศึกษาจะต้องพัฒนาขึ้น
1.2 การวางแผนการเรียนรู้ผู้เรียนวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
1) กำหนดกลยุทธการพัฒนาตนเองจากการศึกษาเอกสารหนังสือหลักฐานร่องรอยหรือการสืบค้นในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือปฏิบัติกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้“กระบวนการพัฒนาหลักสูตร”
2) จัดทําปฏิทินและเครื่องมือในการกำกับติดตามเพื่อการประเมินตนเองในการพัฒนาหลักสูตร
ขั้นที่ 2 P-/Praxis
2.1 การพฒนาทักษะการเรียนรู้นักศึกษาศึกษาเรียนรู้ด้วย การแสวงหาและใช้แหล่งการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้ร่วมกันการใช้วิธีการต่างๆ ในการเรียนรู้ และการตรวจสอบความรู้“กระบวนการพฒนาหลักสูตร”
2.1.1 การแสวงหาและใช้แหล่งการเรียนรู้
2.1.2 การใช้วิธีการต่างๆ ในการเรียนรู้
2.1.3 การตรวจสอบความรู้นักศึกษาจะได้รับการสนับสนุนให้ทํากิจกรรมการ
ปฏิบัติการใช้คอมพิวเตอร์และกิจกรรมกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนความคิดของนักศึกษาเปิดการอภิปราย
ให้กว้างขวางเสนอหลักฐานร่องรอยของความคิดของนักพัฒนาหลักสูตรเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้
อภิปรายกับกลุ่มเพื่อนภายใต้บรรยากาศการเรียนรู้ที่สนับสนุนซึ่งกันและกัน
2.2 การสรุปความรู้และการวิพากษ์ความรู้ผู้สอนส่งเสริมให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิด
“กระบวนการพฒนาหลักสูตร” โดยใชภาษาของตนเองสอบถามถึงหลักฐานและความชัดเจนในการอธิบายของนักศึกษาที่ใชความรู้เดิมหรือประสบการณ์ที่มีมาก่อนของผู้เรียนเป็นพื้นฐานในการ
อธิบายในส่วนการวิพากษ์ความรู้ผู้สอนกระตุ้นให้ผู้เรียนขยายความรู้ความเข้าใจใน
“กระบวนการพฒนาหลักสูตร” ของนักศึกษาโดยผ่านประสบการณ์ใหม่ๆผู้เรียนจะได้รับการ
สนับสนุนให้นําความรู้ปรับใช้กับประสบการณ์ ในชีวิตจริงโดยผ่านกระบวนการพัฒนาหลักสูตร
นักศึกษานำความรู้ความเข้าใจไปประยุกต์ โดยการพัฒนาหลักสูตรเพิ่มขึ้น
ขั้นที่ 3 U-Understanding
การตรวจสอบทบทวนตนเองด้วยการประเมินความเข้าใจในการเรียนรู้-การประเมินความรู้ส่งเสริมให้นักศึกษาประเมินความรู้และความสามารถของตนเอง
ประเมินความก้าวหน้าในการเรียนและประเมินการบรรลุจุดหมายการศึกษา
ผู้วิจัยได้สังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและนำเสนอเป็นแบบจำลองการเรียนการสอน เรียกว่า NPU Model
อ้างอิง : NPU Model อาจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช
NPU Model
ผู้เรียนได้สังเคราะห์เป็นแบบจำลองการสอน เรียกว่า NPU Model ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 N- Need Analysis
1.1
วิเคราะห์จุดหมายในการเรียนรู้นักศึกษาวิเคราะห์หลักการจัดการศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่
21 และจุดหมายของการศึกษาในระดับสากล (World class
Education) เพื่อกำหนดจุดหมายในการเรียนรู้วิชา “หลักสูตร”และนำไปกำหนดจุดหมายของหลักสูตรที่นักศึกษาจะต้องพัฒนาขึ้น
1.2
การวางแผนการเรียนรู้ผู้เรียนวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
1)
กำหนดกลยุทธการพัฒนาตนเองจากการศึกษาเอกสารหนังสือหลักฐานร่องรอยหรือการสืบค้นในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือปฏิบัติกิจกรรมที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้“กระบวนการพัฒนาหลักสูตร”
2)
จัดทำปฏิทินและเครื่องมือในการกำกับติดตามเพื่อการประเมินตนเอง
ขั้นที่ 2 P-/Praxis
2.1 การพัฒนาทักษะการเรียนรู้นักศึกษาศึกษาเรียนรู้ด้วย
การแสวงหาและใช้แหล่งการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือและการเรียนรู้ร่วมกันการใช้วิธีการต่างๆ
ในการเรียนรู้ และการตรวจสอบความรู้“กระบวนหลักสูตร”
2.1.1
การแสวงหาและใช้แหล่งการเรียนรู้
2.1.2 การใช้วิธีการต่างๆ
ในการเรียนรู้
2.1.3 การตรวจสอบความรู้นักศึกษาจะได้รับการสนับสนุนให้ทำกิจกรรมการ
2.2 การสรุปความรู้และการวิพากษ์ความรู้ผู้สอนส่งเสริมให้ได้อธิบายแนวคิด
ขั้นที่
3
U-Understanding
การตรวจสอบทบทวนตนเองด้วยการประเมินความเข้าใจในการเรียนรู้-การประเมินความรู้ส่งเสริมให้ประเมินความรู้และความสามารถของตนเอง
ประเมินความก้าวหน้าในการเรียนและประเมินการบรรลุจุดหมายการศึกษา
วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2561
กิจกรรมบทที่ 11 (2)
2. ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจากวิจารณ์ พานิช. วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21
คุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21 (E – TEACHER)
คุณลักษณะของครูในศตวรรษที่ 21
คำว่า “ครู” เป็นคำที่เราคุ้นเคยกันมาตลอด ครู คือ ผู้ที่ให้คำแนะนำ
เพื่อให้เกิดประโยชน์ทางการเรียน สำหรับผู้เรียน
หรือนักเรียน/นักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ รวมทั้งสถาบันการศึกษา รร.เหล่า
สายวิทยาการและหน่วยจัดการศึกษาของ ทบ. ที่มีหน้าที่ให้การฝึก ศึกษาเกี่ยวกับวิชาความรู้ทางทหารวิชาการ
หลักการคิด รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน
บทบาทหน้าที่ของ ครู มีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคตามสมัย
เพื่อให้ทันสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเฉพาะในยุคปัจจุบันเป็นยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัย
มีความก้าวหน้า และสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้มากและรวดเร็วขึ้น ดังนั้น
ครูจึงจำเป็นต้องปรับตัวให้พร้อมและพัฒนาตนเองให้ทันยุคที่เปลี่ยนไป
อีกทั้งต้องมีความกระตือรือร้นที่จะพัฒนาด้านทักษะวิทยาการให้ทันสมัยเพื่อให้เกิดการเรียนรู้เทคนิค
วิธีการเรียน การสอนแบบใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพ
บทบาทของครูในศตวรรษที่ 21
บทบาทของ e – teacher ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ครูทำหน้าที่ วางแผน ออกแบบ
ดำเนินการจัดกิจกรรมที่หลากหลายและจัดเตรียมแหล่งเรียนรู้ให้เพียงพอ
รวมทั้งจัดการประเมินผลอย่างชัดเจนได้มาตรฐาน ส่วนที่ 2
ครูเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการสื่อสารเป็นสื่อในการจัดการเรียนรู้
ลักษณะของ e – teacher สรุปได้ 9 ประการ ดังนี้
1.
Experience ครูควรสร้างสรรค์และเรียนรู้การใช้เครื่องมือ/เทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น Internet
2. Extended ครูควรค้นหาความรู้ตลอดเวลา
มีการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในการค้นคว้าหาความรู้ด้วยเทคโนโลยี
3. Expanded ครูควรขยายผลความรู้
เพื่อให้เกิดการเพิ่มพูนความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ชุมชนโดยรวม
4. Exploration ครูควรค้นคว้าและเลือกเนื้อหาสาระ
เอกสารหลักฐานอ้างอิง ที่ทันสมัย
เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการนำมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
5. Evaluation ครูควรเป็นนักประเมินที่ดี
มีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการประเมินผล และให้ เหมาะสมกับรูปแบบการเรียน
เพราะไม่ใช่ทุกเทคโนโลยีจะใช้ได้กับการเรียนทุกรูปแบบ
6. End – User ครูควรเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีได้อย่างหลากหลายและสามารถเป็นผู้ใช้ปลายทางที่ดี
เช่น สามารถ Browse ไป Web Site ได้ เป็นต้น
7. Enabler ครูควรสามารถนำเทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์
มาใช้ในการสร้างบทเรียน สื่อ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้กับผู้เรียนมากขึ้น
8. Engagement เป็นลักษณะครูที่ให้ความร่วมมือ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อให้เกิดความคิดใหม่ ๆ
9. Efficient and Effective ครูที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผล
ในการใช้เทคโนโลยีได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นผู้ผลิต ผู้กระจาย และผู้ใช้ความรู้จาก e
8 ข้อข้างต้น การปรับบทบาทและพัฒนาครูให้เป็น e – teacher อาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่มีความจำเป็นอย่างยิ่งกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน และเป็นกลไกสำคัญในการปฏิรูปการศึกษาให้ประสบความสำเร็จ
ห้องเรียนสำหรับการศึกษาศตวรรษที่
21
สำหรับผู้เขียน
Biog เอง โดยส่วนตัวได้มีโอกาสเป็นผู้สอนในโรงเรียนเล็กๆแห่งหนึ่ง ซึ่งในฐานะที่เราเป็นผู้สอน เราจะมองเห็นว่าโลกทุกวันนี้ก้าวไปไกลมาก
ทั้งในเรื่องเทคโนโลยีและการใช้ชีวิตในส่วนต่างๆ
ฉะนั้นเราต้องก้าวให้ทันกับทุกสถานการณ์ ให้ทันยุคสมัยที่มันกำลังเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ยิ่งเป็นผู้สอนยิ่งต้องรู้ให้ไว ต้องรู้ก่อนผู้เรียน
เพื่อที่เราจะได้นำสิ่งที่เรารู้ก่อนเหล่านั้นกลับไปสอนเขาได้
e – teacher คือลักษณะ 9 ประการที่ครูใน ยุคศตวรรษที่ 21 “ ควรพึงมี ”
โดยส่วนตัว ถ้าให้เลือก e – teacher มา 1
ข้อ ที่ตัวเองด้อยและมีน้อยที่สุด
ณ ตอนนี้ คงจะเลือกเป็น e ที่ข้อสุดท้าย คือ Efficient
and Effective ให้เป็นข้อที่ตัวเองมีน้อยที่สุด เหตุผลคงเนื่องจาก Efficient
and Effective เป็น e ที่เป็นศูนย์รวมของ e
ทั้ง 8 ข้อก่อนหน้า มาเข้าไว้ด้วยกัน
ถ้าจะให้อธิบายขยายความก็คงหมายถึงว่าผู้เขียนเอง ยังขาดหรือยังชำนาญใน 8e เริ่มต้นไม่เพียงพอ เลยทำให้ ยังเป็นผู้สอนที่ไม่สมบูรณ์แบบตามหลักของ
ครูในยุคศตวรรษที่ 21 นั่นเอง
แต่เมื่อเรารู้ว่าเราขาดสิ่งไหน เรายิ่งต้องพยายามเรียนรู้เพิ่มขึ้นเพื่อที่จะได้ก้าวสู่การเป็น e – teacher ที่สมบูรณ์แบบต่อไป
“เมื่อรู้ว่าด้อย เมื่อรู้ว่าขาด ก็จงเร่งพัฒนาตน
หมั่นฝึกฝนอย่าให้ขาด”
กิจกรรมบทที่ 11 (1)
1.
สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง
ปัญหาและแนวโน้มของหลักสูตร
ปัญหาในการพัฒนาหลักสูตร
1. ในอดีตการจัดศึกษาไทยเป็นระบบศูนย์รวม
สถานศึกษาต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดและหลักสูตรที่สร้างขึ้นจากส่วนกลาง
ซึ่งไม่สะท้อนสภาพความต้องการที่แท้จริงของสถานศึกษาและท้องถิ่น
2.เกิดจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาหลักสูตร
เช่น ครู ผู้บริหาร ผู้จัดทำหลักสูตร ไม่เข้าใจกระบวนการของการพัฒนาหลักสูตร
มีเจตคติที่ไม่ดีต่อการพัฒนาหลักสูตร ไม่ยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงของหลักสูตร
มีความรู้ความสามารถไม่เพียงพอที่จะพัฒนาหลักสูตร
3.
ขาดงบประมาณสนับสนุน เช่น ขาดงบประมาณในการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ เอกสาร
เงินสนับสนุนช่วยเหลือครูแต่ละวันในการพัฒนาหลักสูตร เป็นต้น
4.
การบริหารจัดการ เช่น ขาดการประสานงานี่ดีระหว่างระหน่วยงานต่างๆ
ขาดผู้เชี่ยนชาญที่มีความรู้
ความเข้าใจและทักษะในการให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตร ขาดการวางแผนด้านเวลา
บรรยากาศของโรงเรียนไม่ส่งเสริมการทำงาน
แนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
1.
เป็นหลักสูตรที่เน้นให้ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น วิเคราะห์เป็น
ไม่เน้นท่องจำเหมือนในอดีต เช่น จัดการเรียนรู้แบบโครงการ ให้ครูและนักเรียนช่วยกันพัฒนาโจทย์ขึ้นด้วยกัน
การเสาะแสวงหาข้อมูล การลงภาคสนาม การทดลองปฏิบัติ การจดบันทึกข้อมูล
การสรุปบทเรียนด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นวิทยากรกระบวนการ
ผู้ให้คำแนะนำปรึกษาต่อนักเรียน
2.สื่อและเทคโนโลยีต่างๆ
เข้ามามีบทบาทในการเรียนเพิ่มมากขึ้น เช่น
มีการค้นคว้าหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตด้วยตนเองซึ่งผู้เรียนจะสามารถค้นคว้า
มีทักษะเข้าสู่ระบบข้อมูลข่าวสาร องค์ความรู้ต่างๆ ที่มีอยู่มากมายได้ตลอดเวลา
จัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนการสอนแบบทางไกล
ซึ่งจะทำให้ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา สถานที่
3.
เน้นการบูรณาการ แต่ยังคงเนื้อหาสาระของแต่ละรายวิชาอยู่ทั้งด้านภาษา
การคิดคำนวณและด้านเหตุผลหรือวิทยาศาสตร์
4.
เน้นการมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นและสถานศึกษาเข้ามามีบทบาทในการจัดการศึกษา
เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน
แต่ส่วนกลางยังคงเป็นผู้กำหนดมาตรฐานการเรียนรู้เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาแต่ละแห่ง
5.ให้ครูและผู้มีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรอย่างแท้จริง
เช่น การจัดอบรมสัมมนา.เรื่องการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง
จัดให้มีผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรมาให้คำแนะนำช่วยเหลือในการพัฒนาหลักสูตร
6.เน้นหลักสูตรท้องถิ่นที่มีความหลากหลายและให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
7.
เนื่องจากในยุคปัจจุบันภาษาต่างประเทศมีความจำเป็นในดำรงชีวิตของผู้คนเพิ่มมากขึ้นประกอบกับประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี
2558 ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาเวียดนาม ลาว
มลายู อังกฤษ รวมไปถึงมีการเปิดหลักสูตรนานาชาติเพิ่มขึ้นด้วย
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
"บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาหลักสูตร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดก...
-
ทฤษฎีหลักสูตร แนวคิด รูปแบบ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรของนักวิชาการไทยและต่างประเทศ ทฤษฎีหลักสูตร แนวคิด รูปแบบ ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูต...
-
บทความเรื่องทักษะของคนในศตวรรษที่ 21 ที่เขียนโดย ศ. น.พ.วิจารณ์ พานิชได้กล่าวว่า การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ที่คนทุกคนต้องเรียนรู้ตั้...
-
สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง ประเภทของหลักสูตร การออกแบบหลักสูตร 1. หลักสูตรแบบเนื้อหาวิชาหรือแบบ...