1.
สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตรนั้นมีแนวคิดอยู่ 2
ลักษณะด้วยกัน คือ การสร้างหลักสูตรขึ้นมาใหม่
โดยไม่มีหลักสูตรเดิมเป็นพื้นฐานอยู่เลย และการปรับปรุงหลักสูตรที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น
ความหมายของคำว่า “การพัฒนาหลักสูตร” จะรวมไปถึงการผลิตเอกสารต่างๆ
สำหรับผู้เรียนด้วย (Saylor
and Alexander 1974, P.7)
ซึ่งระบบการพัฒนาหลักสูตรนั้นจะเกี่ยวข้องกับการจัดทำหลักสูตร ได้แก่
การร่างหรือพัฒนาหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินหลักสูตร
ได้มีนักการศึกษาหลายท่านได้พัฒนารูปแบบหลักสูตรตามแนวคิดที่แตกต่างกัน
นำเสนอรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร ดังนี้
ไทเลอร์
(Ralph
W. Tyler) ได้ให้หลักเกณฑ์และเหตุผลไว้ว่า
ในการพัฒนาหลลักสูตรและวางแผนการสอนนั้น จะต้องตอบคำถาม 4 ประการ ดังนี้
มีจุดประสงค์ทางการศึกษาอะไรบ้าง
ที่โรงเรียนควรแสวงหา
มีประสบการณ์ทางการศึกษาอะไรบ้าง
ที่สามารถจัดขึ้นเพื่อช่วยให้บรรลุจุดประสงค์ที่กำหนดไว้นั้น
จะจัดระบบประสบการณ์ดังกล่าวนี้อย่างไร
จึงจะมีประสิทธิภาพมากที่สุด
จะประเมินประสิทธิภาพของประสบการณ์ในการเรียนอย่างไรจึงจะตัดสินใจได้ว่าบรรลุถึงจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ในการกำหนดจุดมุ่งหมายนั้น
ขั้นแรกต้องกำหนดเป็นจุดมุ่งหมายชั่วคราวก่อน โดยต้องนำบริบทที่เกี่ยวข้อง เช่น
บริบททางด้านสังคม
ด้วยการนำสิ่งที่สังคมคาดหวังว่าต้องการให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะอย่างไร
และมีการศึกษาตัวผู้เรียน นอกจากนี้ยังต้องศึกษาแนวคิดของนักวิชาการ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้แสวงหาคำตอบที่ชัดเจนในการกำหนดเป้าหมายหรือทิศทางของการศึกษา
การเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนที่คาดหวังว่าจะให้ผู้เรียนมีประสบการณ์การจัดกิจกรรมในการเรียนการสอนและส่วนเสริมหลักสูตรนั้นมีอะไร
ทั้งนี้ก็เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปเพื่อตอบสนองจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
โดยไทเลอร์ได้เสนอเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ไว้ดังนี้
ผู้เรียนควรมีโอกาสฝึกพฤติกรรมและการเรียนรู้เนื้อหาตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมาย
กิจกรรมและประสบการณ์นั้นทำให้ผู้เรียนพอใจปฏิบัติการเรียนรู้
อาจนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เพียงข้อเดียวก็ได้
กิจกรรมและประสบการณ์นั้นอยู่ในข่ายความพอใจที่พึงปฏิบัติได้
กิจกรรมและประสบการณ์หลายๆ
ด้านของการเรียนรู้ อาจนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เพียงข้อเดียวก็ได้
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ในด้านเวลาต่อเวลา
และเนื้อหาต่อเนื้อหา เรียกว่าเป็นความสัมพันธ์แบบแนวตั้ง (Vertical) กับแนวนอน (Horizontal) ซึ่งมีเกณฑ์การจัดตาม
ความต่อเนื่อง (Continuity) การจัดช่วงลำดับ (Sequence)
และการบูรณาการ (Integration)
การประเมินผล
เพื่อตรวจสอบดูว่าการจัดการเรียนการสอนได้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้หรือไม่
สมควรมีการปรับแก้ในส่วนใดบ้าง
แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรตามรูปแบบของทาบา (Hilden Taba) มีลักษณะจากล่างขึ้นบน
(grassroots approach) โดยใช้วิธีอุปนัย ทาบาเสนอไว้ว่า
หลักสูตรควรมาจากครูผู้สอนมากกว่าผู้บริหารระดับสูง กระบวนการพัฒนาหลักสูตรของทาบามีทั้งหมด
7 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่
1 วิเคราะห์สภาพปัญหา สำรวจความต้องการและความจำเป็นต่างๆ ของสังคม
ศึกษาพัฒนาการของผู้เรียน กระบวนการเรียนรู้ และธรรมชาติของการเรียนรู้
ซึ่งเป็นแนวทางที่สำคัญในการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร
ขั้นที่
2 การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร โดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากขั้นที่ 1 เป็นหลัก
ควรเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้จริง และเป็นแนวทางในการเลือกและจัดประสบการณ์การเรียนรู้
ขั้นที่
3 การเลือกเนื้อหาสาระ ต้องให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
เนื้อหาที่คัดเลือกบรรจุลงในหลักสูตรจะต้องมีความสำคัญและถูกต้อง
ขั้นที่
4 การจัดรวบรวมเนื้อหาสาระ
พิจารณาถึงความเหมาะสมในการที่จะให้ผู้เรียนได้รับความรู้ใดก่อนหลัง
ซึ่งจะต้องมีความต่อเนื่องและเป็นลำดับขั้นตอน
ขั้นที่
5 การเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ เป็นการศึกษาถึงกระบวนการเรียนรู้
และวิธีการสอนแบบต่างๆ
จะต้องวางแผนเลือกประสบการณ์ให้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระและผู้เรียน
ขั้นที่
6 การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ได้เลือกแล้ว เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ให้เป็นไปตามลำดับขั้นตอนที่บรรลุตามจุดประสงค์ที่วางไว้
ขั้นที่
7 การประเมินผล เป็นการพิจารณาว่าหลักสูตรประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใด
มีปัญหาหรือข้อบกพร่องในขั้นตอนใด เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงแก้ไขต่อไป
เซเลอร์และอเล็กซานเดอร์ (Saylor and
Alexander 1981, P. 30-39) ได้เสนอแนวคิดว่า
การพัฒนาหลักสูตรจะไม่ดำเนินไปในลักษณะเส้นตรง
การจะเริ่มที่ขั้นตอนหรือกระบวนการก็ได้ ดังนี้
ขั้นที่
1 การกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และขอบเขต โดยกำหนดขอบเขตของเป้าหมายไว้ 4 ประการ
คือ ประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลาย พัฒนาการของบุคคล ความสามารถทางสังคม ทักษะการเรียนรู้
และความชำนาญเฉพาะด้าน
ขั้นที่
2 การออกแบบหลักสูตร เป็นการตัดสินใจโดยใช้เป้าหมาย วัตถุประสงค์และขอบเขต
พร้อมทั้งพิจารณาข้อมูลอื่นๆ ประกอบ เช่น ธรรมชาติของวิชา ความสนใจของผู้เรียน
และสังคม เป็นต้น
ขั้นที่
3 การนำหลักสูตรไปใช้ เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับการนำวิธีสอนต่างๆ
ที่ได้ออกแบบไว้ไปปฏิบัติวิธีการสอน รวมทั้งสื่อต่างๆ
ที่นำไปใช้ต้องเหมาะสมสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายการสอน
ขั้นที่
4 การประเมินผลหลักสูตร ผู้สอนจะต้องเลือกใช้วิธีประเมินผลแบบต่างๆ
เพื่อบอกความก้าวหน้าของผู้เรียน รวมทั้งประสิทธิภาพการสอน ผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
รูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
1.จุดมุ่งหมายของการศึกษา (Aims of
Educatioj ) และหลักการปรัชญาและจิตวิทยาจากการวิเคราะห์ความต้องการจะเป็นของสังคมและของผู้เรียน
2.วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นขอุมชนที่สถานศึกษานั้นๆ
ความต้องการจำเป็นของผู้เรียนในชุมชน
และเนื้อหาวิชาที่จำเป็นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน
3. เป้าหมายของหลักสูตร (Curriculum
Goals) โดยอาศัยข้อมูลจากขั้นที่ 1 และ 2
4. จุดประสงค์ของหลักสูตร (Curiiculum
Objectives) อาศัยข้อมูลจากขั้นที่ 1, 2 และ 3
แตกต่างจากขั้นที่ 3 คือมีลักษณะเฉพาะเจาะจงเพื่อนำไปสู่การประยุกต์ใช้หลักสูตร
และการกำหนดโครงสร้างหลักสูตร
5. รวบรวมและนำหลักสูตรไปใช้ (Organization
and Implementation of the curriculum) เป็นขั้นของการกำหนดโครงสร้างหลักสูตร
6. กำหนดเป้าหมายของการสอน (Instructional
Goals) ของแต่ละระดับ
7.
กำหนดจุดประสงค์ของการจัดการเรียนการสอน (Instructional Objectives) ในแต่ละรายวิชา
8. เลือกยุทธวิธีในการสอน (Selection of
Strategies) เป็นขั้นที่ผู้เรียนเลือกยุทธวิธีที่เหมาะสม
9.
เลือกเทคนิควิธีการประเมินผลก่อนที่นำไปสอนจริง คือ 9A
(Preliminary selection of evaluation techniques) และกำหนดวิธีการประเมินผลหละงจากกิจกรรมการเรียนการสอนสิ้นสุด
คือ 9B (Find selection of evaluation techniques)
10. นำยุทธวิธีไปปฏิบัติจริง (Implementation
of Strategies) เป็นขั้นของการใช้วิธีการที่กำหนดในขั้นที่ 8
11. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน (Evaluation of
Instruction) เป็นขั้นที่เมื่อการดำเนินการจัดการเรียนการสอนเสร็จสิ้น
ก็มีการประเมินผลตามที่ได้เลือกหรือกำหนดวิธีการประเมินในขั้นที่ 9
12. ประเมินหลักสูตร (Evaluation of
curriculum) เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ทำให้วงจรครบถ้วน
การประเมินผลที่มิใช่ประเมินผู้เรียนและผู้สอน
แต่เป็นการประเมินหลักสูตรที่จัดทำขึ้น
แสดงรูปแบบ/สาระของรูปแบบการพัฒนาหลักสูตร
ผู้เสนอ
|
รูปแบบ/สาระ
|
ไทเลอร์
|
หลักการและเหตุผลของการพัฒนาหลักสูตร
ต้องคำนึงถึงพื้นฐานที่สำคัญ
4 ประการ คือ จุดมุ่งหมาย ประสบการณ์ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
และประเมินอย่างไรจึงจะทราบว่าผู้เรียนบรรลุเป้าหมาย
|
ทาบา
|
การพัฒนาหลักสูตรแบบรากหญ้า
(Grass-roots
approach)
หลักสูตรควรได้รับการออกแบบโดยครูผู้สอนมากกว่าพัฒนาจากองค์กรที่อยู่สูงขึ้น
โดยมีขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตร 7 ขั้นตอน คือ 1. วิเคราะห์ความต้องการ
2.
กำหนดจุดมุ่งหมาย 3. คัดเลือกเนื้อหา 4. การจัดรวบรวมเนื้อหาสาระ
5.
การคัดเลือกประสบการณ์การเรียนรู้ 6. การจัดรวบรวมประสบการณ์การเรียนรู้ 7.
กำหนดวิธีวัดและประเมินผล
|
เซย์เลอร์
อเล็กซานเดอร์
และเลวิส
|
การพัฒนาหลักสูตร ประกอบด้วยกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญ
4
ขั้นตอน คือ 1. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 2. การออกแบบหลักสูตร
3.
การนำหลักสูตรไปใช้ 4. การประเมินผลหลักสูตร
|
โอลิวา
|
การพัฒนาหลักสูตรมีองค์ประกอบที่สำคัญ 12 ขั้นตอน คือ 1.
จุดหมายของการศึกษา 2. ความต้องการจำเป็นของผู้เรียนและชุมชน 3.
เป้าหมายหลักสูตร 4. จุดประสงค์หลักสูตร 5. นำหลักสูตรไปใช้ 6.
เป้าหมายการจัดการเรียนการสอนแต่ละระดับ 7. จุดประสงค์การจัดการเรียนแต่ละรายวิชา
8. เลือกยุทธวิธีในการสอน 9. เลือกเทคนิควิธีการประเมินผลก่อนนำไปสอนจริง
10. นำยุทธวิธีไปปฏิบัติจริง 11. ประเมินผลการจัดการเรียนการสอน
|
สกิลเบ็ก
|
การพัฒนาหลักสูตรที่เป็นพลวัต
ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1. การวิเคราะห์สถานการณ์ 2. การกำหนดวัตถุประสงค์ 3.
การออกแบบการจัดการเรียนการสอน 4. การนำหลักสูตรไปใช้ 5.
การประเมินการเรียนรู้และการประเมินผลหลักสูตร
|
วอล์คเกอร์
|
การพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดเชิงประจักษ์นิยม
ประกอบด้วยขั้นตอน
3
ขั้นตอน คือ 1. การศึกษาขั้นพื้นฐาน 2. การพิจารณาไตร่ตรอง
3.
การออกแบบหลักสูตร
|
กรมวิชาการ
|
การพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย
5 ขั้นตอน คือ 1. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2. ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร 3.
วางแผนและจัดทำหลักสูตร
4.
กำหนดแนวทางการจัดการเรียนรู้ 5. จัดทำแผนการสอน
|
กรมการศึกษานอกโรงเรียน
|
การพัฒนาหลักสูตรประกอบด้วย
5 ขั้นตอน คือ 1. การวิเคราะห์หลักสูตร
แกนกลาง
2. การจัดหมวดหมู่สภาพปัญหาและความต้องการที่ส่งผลต่อผู้เรียน 3.
การเขียนแผนการสอน 4. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
5.
การประเมินผลผู้เรียน
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น