หลักสูตรแกน
หลักสูตรแกน (The Core Curriculum)
ถือกำเนิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกาเมื่อประมาณปีค.ศ. 1900 ด้วยเหตุผลสองประการ คือ
ความพยายามที่จะปลีกตัวออกจากการเรียนที่ต้องแบ่งแยกวิชาออกเป็นรายวิชาย่อยๆ
หรือพูดง่ายๆ ก็คือความพยายามที่จะให้หลุดพ้นจากการเป็นหลักสูตรรายวิชา
ประการหนึ่ง
และความพยายามที่จะดึงเอาความต้องการและปัญหาของสังคมมาเป็นศูนย์กลางของหลักสูตร
อีกประการหนึ่ง
แรกทีเดียวได้มีการนำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆ มารวมกันเข้าเป็นวิชากว้างๆ
เรียกว่าหมวดวิชา ทำให้เกิดหลักสูตรแบบกว้างขึ้น
แต่หลักสูตรนี้มิได้มีส่วนสัมพันธ์กับปัญหาและความต้องการของสังคมมากนัก
ดังนั้นจึงมีผู้คิดหลักสูตรแกนเพื่อสนองจุดหมายที่ต้องการ
หลักสูตรรายวิชา
(The
Subject Curriculum)
เป็นหลักสูตรที่ใช้กันมาแต่ดั้งเดิมไม่เฉพาะแต่ในยุโรปหรือสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
ประเทศในเอเชียรวมทั้งประเทศไทยก็ได้ใช้หลักสูตรแบบนี้มาแต่ต้น
การที่เรียนกว่าหลักสูตรรายวิชาก็เนื่องจากโครงสร้างของเนื้อหาวิชาในหลักสูตร
จะถูกแยกออกจากกันเป็นรายวิชาโดยไม่จำเป็นต้องมีส่วนเกี่ยวข้องกัน
ไม่ว่าในด้านเนื้อหาหรือการสอน
สำหรับเนื้อหาที่คัดมาถือว่าเป็นเนื้อหาที่สำคัญและจำเป็นต่อการเรียนรู้
หลักสูตรของไทยเราที่ยังเป็นหลักสูตรรายวิชา ได้แก่ หลักสูตรมัธยมและอุดมศึกษา
แต่มีการปรับปรุงโครงสร้าง โดยนำเอาระบบหน่วยกิตมาใช้
หลักสูตรบูรณาการ
(Integration
or Integrated Curriculum)
หลักสูตรบูรณาการเป็นหลักสูตรที่รวมประสบการณ์เรียนรู้ต่าง ๆ
เข้าไว้ด้วยกันประสบการณ์ดังกล่าวเป็นประสบการณ์ที่คัดเลือกมาจากหลายสาขาวิชาแล้วจัดเป็นกลุ่มหรือหมวดหมู่ของประสบการณ์เป็นการ
บูรณาการเนื้อหาเข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์สัมพันธ์และต่อเนื่องมีคุณค่าต่อการดำรงชีวิต
หลักสูตรเกลียวสว่าน (Spiral Curriculum)
ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นเสมอในระหว่างผู้จัดทำหลักสูตรด้วยกันเอง ได้แก่ ข้อสงสัยที่ว่าทำไมจึงต้องจัดหัวข้อเนื้อหาในเรื่องเดียวกันซ้ำๆ
กันอยู่เสมอในเกือบทุกระดับชั้น แม้จะได้มีผู้พยายามกระทำตามความคิดที่จะจัดสรรเนื้อหาในแต่ละเรื่องหรือแต่ละหัวข้อให้จบในแต่ละระดับชั้น แต่ในทางปฏิบัติและในข้อเท็จจริงยังกระทำไม่ได้ เนื่องจากว่าเนื้อหาหรือหัวข้อต่างๆ จะประกอบด้วยความกว้างและความลึก ซึ่งมีความยากง่ายไปตามเรื่องรายละเอียดของเนื้อหา นักพัฒนาหลักสูตรยอมรับในปรากฏการณ์นี้และเรียกการจัดเนื้อหาเรื่องเดียวกันไว้ในทุกระดับชั้นหรือหลายๆ
ระดับชั้น แต่มีรายละเอียดและความยากง่ายแตกต่างกันไปตามวัยของผู้เรียนว่า หลักสูตรเกลียวสว่าน
หลักสูตรสัมพันธ์วิชา (The Correlated
Curriculum)
เป็นหลักสูตรรายวิชาที่ได้รับการปรับปรุงเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ
แรกทีเดียวการแก้ไขข้อบกพร่องทำโดยการนำเอาเทคนิคการสอนใหม่ๆ มาใช้ เช่น
ให้ผู้เรียนร่วมในการวางแผนการเรียน และให้ผู้เรียนทำกิจกรรมต่างๆ
นอกเหนือจากการท่องจำ เพื่อให้ผู้เรียนรู้เนื้อหาที่ต้องการ
ทั้งนี้เพื่อแก้ข้อบกพร่องของหลักสูตรที่เน้นเรื่องผู้สอนเป็นผู้สั่งการหรือจุดศูนย์กลางของการเรียนการสอน
แต่การปรับปรุงด้านเทคนิคการสอนไม่ได้ช่วยแก้ไขข้อบกพร่องที่ว่า
หลักสูตรรายวิชามีขอบเขตแคบเฉพาะวิชา และยังมีลักษณะแบ่งแยกเป็นส่วนย่อยๆ อีกด้วย
ในระยะต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขอีกโดยจัดให้มีความเชื่อมโยงระหว่างวิชาต่างๆ
ทำให้เกิดหลักสูตรสัมพันธ์วิชาขึ้น
วิธีการเชื่อมโยงก็ทำทั้งในระดับความคิดและระดับโครงสร้างดังได้กล่าวมาแล้ว
อย่างไรก็ตามหลักสูตรสัมพันธ์วิชาก็คือหลักสูตรรายวิชาอีกรูปแบบหนึ่งนั่นเอง แต่เป็นหลักสูตรที่นำเอาเนื้อหาของวิชาต่างๆ
ที่สอดคล้องหรือส่งเสริมซึ่งกันและกัน
มาเชื่อมโยงกันเข้าแล้วจัดสอนเนื้อหาเหล่านั้นในคราวเดียวกัน
วิธีการนี้อาศัยหลักความคิดของแฮร์บารตที่ว่าการที่จะเรียนรู้สิ่งใดได้ดีผู้เรียนจะต้องมีความสนใจเข้าใจความหมายของสิ่งที่เรียนและมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่เรียนและสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรแฝง (Hidden
Curriculum)
โรงเรียนโดยทั่วไปจะมีความสามารถและประสบความสำเร็จอย่างมากในการสอนให้นักเรียนอ่านออก
เขียนได้ คิดเลขเป็น และมีความรู้อย่างดียิ่งในสาขาวิชาต่างๆ
แต่สิ่งหนึ่งที่โรงเรียนได้ตระหนักและพยายามอย่างมาก
แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จหรืออาจจะเรียกได้ว่าล้มเหลวมาตลอดก็คือ การสอนคุณธรรม
จริยธรรม และความเป็นพลเมืองดีให้แก่นักเรียน เด็กเหล่านี้ได้รับการปลูกฝัง
และอบรมสั่งสอนจากครูอย่างจริงจัง
แต่พวกเขาก็ไม่ค่อยปฏิบัติตามสิ่งที่ครูสอนมากนักแม้จะมีนักเรียนบางคนประพฤติตนตามคำสอนของครูอย่างเคร่งครัด
แต่เมื่อเขาออกจากโรงเรียนไปแล้วก็เปลี่ยนพฤติกรรมและค่านิยมไปตามสังคมที่เรามองกันว่าไม่เหมาะสม
คนทั่วๆ ไปในสังคมทราบว่าเหตุใดการสอนให้คนทำความดี
และประพฤติดีจึงไม่ประสบความสำเร็จ
เขาทราบกันดีว่ามีผู้สอนและผู้อบรมไม่น้อยที่มีลักษณะพูดอย่างทำอย่าง หรือ
สอนอย่างหนึ่งแต่ตนเองทำอีกอย่างหนึ่ง
จึงมีคำพูดหรือคำเปรียบเทียบที่แสดงข้อเท็จจริงนี้ออกมา เช่น “แม่ปูสอนลูกปู” “ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง” และ “จงทำตามที่ครูสอนแต่อย่างทำตามที่ครูทำ” เป็นต้น
ข้อความนี้แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจของคนไทยที่มีต่อการสอนค่านิยมและจริยธรรมได้เป็นอย่างดี
เพราะโดยธรรมชาติมนุษย์เราจะเรียนรู้พฤติกรรม บุคลิกลักษณะ ค่านิยม
และจริยธรรมโดยการเรียนแบบ
นักการศึกษาและนักสังคมศาสตร์ชาวตะวันตกได้ให้ความสนใจในการเรียนรู้ประเภทนี้
และเชื่อว่านักเรียนเรียนรู้ค่านิยม คุณธรรม จริยธรรม และพฤติกรรมต่างๆ จากการกระทำของครูเอง และจากสิ่งที่โรงเรียนจัดให้รวมทั้งสิ่งแวดล้อมของโรงเรียน
มากกว่าการสอนสิ่งเหล่านี้ตามที่ได้กำหนดไว้ในตัวหลักสูตร
และได้บัญญัติคำเพื่อเรียกการเรียนรู้ที่แท้จริงที่ไม่ได้เกิดจากหลักสูตรปกติว่า
หลักสูตรแฝง (Hidden Curriculum)
หลักสูตรกว้าง (The Broad-Field Curriculum)
เป็นหลักสูตรอีกแบบหนึ่งที่พยายามแก้ไขจุดอ่อนของหลักสูตรรายวิชา
โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมการเรียนการสอนให้เป็นที่น่าสนใจและเร้าใจ
ช่วยให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและสามารถปรับตนให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมได้เป็นอย่างดี
รวมทั้งให้มีพัฒนาการในด้านต่างๆ ทุกด้าน
กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือพยายามจะหนีจากหลักสูตรที่ยึดวิชาเป็นพื้นฐาน
มีครูหรือผู้สอนเป็นผู้สั่งการแต่เพียงผู้เดียว วิชาต่างๆ ที่แยกจากกันเป็นเอกเทศ จนทำให้ผู้เรียนมองไม่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชาเหล่านั้น ผลก็คือนักเรียนไม่สามารถนำเอาความรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
หลักสูตรสูญ ( Null
Curriculum)
หลักสูตรสูญหรือ Null Curriculum เป็นความคิดและคำที่บัญญัติขึ้นโดยไอส์เนอร์
(Eisner,1979)แห่งมหาวิทยาลัยแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา หลักสูตรสูญ เป็นชื่อประเภทของสูตรที่ไม่แพร่หลาย
และไม่เป็นที่รู้จักกันมากนักในระหว่างนักการศึกษา และนักพัฒนาหลักสูตรด้วยกัน
เขาได้นิยามหลักสูตรสูญว่า เป็นหลักสูตรที่ไม่ได้มีปรากฏอยู่ให้เห็นในแผนการเรียนรู้
และเป็นสิ่งที่โรงเรียนไม่ได้สอน
เขาได้อธิบายถึงความเชื่อของเขาในเรื่องนี้ว่า
สิ่งที่ไม่ปรากฏอยู่ในตัวหลักสูตรและสิ่งที่ครูไม่ได้ โดยให้เหตุผลว่า
ความรู้หรือการขาดสิ่งที่ควรจากรู้ไม่ได้เป็นแต่เพียงความว่างเปล่าที่หลายคนอาจคิดว่าไม่ได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้ใด แต่โดยความเป็นจริงแล้ว การขาดความรู้ดังกล่าวย่อมมีผลกระทบที่สำคัญมาก
ในแง่ที่ทำให้ผู้เรียนขาดทางเลือกที่เขาอาจนำไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนาชีวิตของเขาได้
นั้นก็คือ การขาดความรู้บางอย่างไปอาจทำให้ชีวิตของคนๆ
หนึ่งขาดความสมบูรณ์ได้
นอกจากนี้ยังอธิบายเพิ่มเติมได้ว่า หลักสูตรสูญได้แก่ ทางเลือกที่ไม่ได้จัดเตรียมไว้ให้ผู้เรียน
ความคิดและทรรศนะที่ผู้เรียนไม่เคยสัมผัสและเรียนรู้สิ่งที่ผู้เรียนจะนำไปประยุกต์ใช้ได้แต่มีไว้ไม่พอ
รวมทั้งความคิดและทักษะที่ไม่ได้รวมไว้ในกิจกรรมทางปัญญา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น