วันพุธที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2561

กิจกรรม


2.ศึกษาทำความเข้าใจเพิ่มเติมจาก สุเทพ อ่าวเจริญ การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีและการปฏิบัติ







หลักสูตร คือ โครงสร้างของเนื้อหาวิชา หรือประสบการณ์ต่าง ๆ หรือศาสตร์ต่างๆ ที่กำหนดให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้ทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ รวมทั้งการมีส่วนร่วมกิจกรรมเสริมสร้างประสบการณ์

วิพากษ์/นิยาม ความหมายของหลักสูตร
                การให้ความหมาย “หลักสูตรของนักการศึกษาต่างประเทศ และนักการศึกษาไทยแตกต่างกันมากมาย เนื่องจากคำว่าหลักสูตรมีความหมายกว้าง และไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะรายวิชาที่อยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น แต่มีความหมายที่หลากหลาย ทั้งศาสตร์และศิลป์ที่อยู่นอกห้องเรียน บ้างก็ว่าคือข้อกำหนด บ้างก็ว่าคือแผนงาน บ้างก็ว่าคือประสบการณ์ การให้คำนิยามดังกล่าวอยู่ที่ความเชื่อ ความเข้าใจ และมวลประสบการณ์เดิมของคนนั้นๆ นอกจากนั้นก็ให้นิยามตามวิธีดำเนินการ กระบวนการ ยุทธศาสตร์ หรือแม้แต่เทคนิค วิธีจัดการเรียนการสอน

วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2561

กิจกรรม


3. อุปมาอุปมัย: เมื่อการศึกษาเปรียบได้กับเครื่องมือการพัฒนามนุษย์ หลักสูตรเปรียบได้กับสิ่งใด

หลักสูตรเปรียบเสมือนเข็มทิศของครูในการจัดการเรียนการสอนให้แก่นักเรียนว่าต้องจัดไปในทิศทางใด จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนคืออะไร ดังนั้นผู้สอนจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษา  ทำความเข้าใจกับหลักสูตรให้แน่ใจอย่างถ่องแท้เสียก่อน
            หลักสูตรเป็นเครื่องชี้นำทางหรือเป็นบทบัญญัติของรัฐในการจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษานำไปปฏิบัติ อีกทั้งยังเป็นเกณฑ์มาตรฐานทางการศึกษา และควบคุมการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา
            การพัฒนาหลักสูตรที่ดีนั้นเราจะต้องรู้ถึงปัญหา สภาพของปัญหาก่อนแล้วจึงระดมความคิดในการแก้ไขปัญหา จะต้องมีการร่วมมือกันหลายฝ่ายเพื่อให้หลักสูตรที่ผ่านการพัฒนานั้นมีคุณภาพในการพัฒนาหลักสูตรการกำหนดจุดประสงค์เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากขั้นตอนหนึ่ง เพราะจะบอกถึงความมุ่งหวังว่าจะพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและความรู้ความสามารถในลักษณะใดรวมทั้งยังเป็นแนวทางในการกำหนดเนื้อหาสาระ กิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้รวมทั้งการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนนักพัฒนาหลักสูตรจึงต้องพิจารณากำหนดจุดประสงค์อย่างรอบคอบ และกำหนดอย่างชัดเจนและเหมาะสมสอดคล้องกับปรัชญาและค่านิยมของสังคม สภาพปัญหาและความต้องการของสังคมและผู้เรียน ตลอดจนมีความสมดุลระหว่างความรู้และทักษะหรือระหว่างทฤษฎีกับการปฏิบัติ




กิจกรรม (Activity)


1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง การพัฒนามนุษย์ การศึกษา การเรียนรู้ และ หลังสูตร



                   การพัฒนา (Development) เป็นการฝึกอบรมคนให้มีความสามารถใหม่ เพื่อรองรับเทคโนโลยีใหม่ มุมมองใหม่ เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถสร้างสรรค์งานได้ผลดียิ่งขึ้น มีบริการที่รวดเร็วกว่า  มีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้น   เป็นการเรียนรู้เพื่อพัฒนารายบุคคลแต่ไม่เกี่ยวข้องกับงานปัจจุบันหรืออนาคต  บุคลากรในองค์กรทำให้องค์กรได้เปรียบในการแข่งขัน ทำให้อยู่ในแนวหน้า ปัจจุบันเราเรียกองค์กรนี้ว่า องค์กรแห่งการเรียนรู้ การพัฒนามีผลต่อการเปลี่ยนแปลงในองค์กรที่เป็นระบบ ทำให้องค์กรเกิดประสิทธิภาพและต่อเนื่อง มีการปรับบทบาทหน้าที่ การคงอยู่ขององค์กร
                   การพัฒนามนุษย์ในฐานะที่เป็นมนุษย์ กับการพัฒนามนุษย์ในฐานะที่เป็นทรัพยากรมนุษย์นี้มีความหมายต่อการศึกษา เพราะการศึกษาเป็นกระบวนการในการพัฒนาคน ทั้งในฐานะที่เป็นมนุษย์โดยตัวของมันเอง และในฐานะที่เป็นทรัพยากร ซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ การศึกษาเพื่อพัฒนาตัวมนุษย์นั้น เป็นการศึกษาที่เรียกได้ว่าเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน (การศึกษาระยะยาว) ส่วนการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีความหมายขึ้นกับกาลเทศะ หรือยุคสมัยมากกว่า คือเป็นการศึกษาที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมของยุคสมัยนั้น (การศึกษาระยะสั้น) เช่น เพื่อสนองความต้องการของสังคมในด้านกำลังคนในสาขางานและกิจการต่าง ๆ ฉะนั้นเราจึงควรจัดการศึกษาทั้งสอง อย่างนี้ให้สัมพันธ์กัน เพราะถ้าเราสามารถพัฒนาทั้งสองส่วนนี้ให้สัมพันธ์กันจนเกิดดุลยภาพขึ้นก็จะเป็นผลดีต่อชีวิตและสังคมมาก
                   การพัฒนามนุษย์ (Human Development) ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พรบ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 2545 และ พรบ.การศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. 2553 มีเจตนารมณ์ที่ต้องการเน้นย้ำว่าการจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข การจัดการศึกษามี รูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอก และการศึกษาตามอัธยาศัย หลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ ต้องมีลักษณะหลากหลาย ทั้งนี้ให้จัดตามความเหมาะสมของแต่ละระดับ โดยมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของบุคคลให้เหมาะสมแก่วัยและศักยภาพ

ทักษะสำหรับโลกอนาคต



ในศตวรรษที่ 21 การเรียนแบบท่องจำ และการเรียนเพื่อรู้แต่ข้อมูล (information) เพียงอย่างเดียว จะมีประโยชน์น้อยลงทุกที หรือเรียกได้ว่า ความรู้จาก 1i ไม่เพียงพอ แต่ต้องปรับเป็น 4i คือ

(i)magination – จินตนาการ
(i)nspiration – แรงดลใจ
(i)nsight – ความเข้าใจลุ่มลึก
(i)ntuition – ญานทัศน์ การหยั่งรู้


เพราะเรากำลังเจอโจทย์ท้าทายแห่งยุค ในการพัฒนาคนให้พร้อมสำหรับ “งานที่ยังไม่มีในวันนี้ โดยต้องใช้เทคโนโลยีที่ยังไม่เกิด เพื่อแก้ปัญหาที่ยังไม่รู้ว่าคืออะไร”
 ทักษะสำหรับโลกอนาคต มี 6 อย่าง 3 องค์ประกอบ

มีคิดสร้างสรรค์
สือสารเก่ง
คิดเชิงวิพากษ์
ใฝ่รู้
อททน
เรียนรู้จักหลายแหล่ง

3 องค์ประกอบ 
Attitude ทัศนคติ+อุปนิสัย
Skill ทักษะ
Knowledge ความรู้





วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ใบงานที่ ๑



หลักสูตร คือ แนวทางในการจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุจุดมุ่งหมายทางการศึกษาตามมาตรฐานสากล มาตรฐานหลักสูตรแกนกลาง และความต้องการชุมชนท้องถิ่น           
                 หลักสูตรเป็นสิ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้ทั้งหมด โดยมีโรงเรียนเป็นผู้วางแผนและกำกับเพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายของการศึกษา ไทเลอร์ (Tyler. 1949: 79)
ไทเลอร์ (Tyler. 1949: 79)
 กู๊ด ( Carter  V. Good,  1973 :  157 -158 )
วิชัย วงษ์ใหญ่ (2537: 12)
สงัด อุทรานันท์ (2538: 6)
สังเคราะห์โดย
ศศินภา แพงจันทร์
หลักสูตรเป็นสิ่งที่เด็กจะต้องเรียนรู้ทั้งหมด โดยมีโรงเรียนเป็นผู้วางแผนและกำกับเพื่อให้บรรลุถึงจุดหมายของการศึกษา
ได้ให้ความเห็นไว้ว่า  การพัฒนาหลักสูตรเกิดขึ้นได้ 2 ลักษณะ คือ การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักสูตร การปรับปรุงหลักสูตรเป็นวิธีการพัฒนาหลักสูตรอย่างหนึ่ง เพื่อให้เหมาะกับโรงเรียนและระบบโรงเรียน จุดมุ่งหมายของการสอนวัสดุอุปกรณ์ วิธีสอนรวมทั้งการประเมินผล ส่วนคำว่า การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร  หมายถึงการแก้ไขหลักสูตรให้แตกต่างไปจากเดิม เป็นการสร้างโอกาสทางการเรียนใหม่
ได้ให้แนวคิดว่า หลักสูตร คือ มวลประสบการณ์ทั้งปวงที่จัดให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ครบถ้วนตามมาตรฐานคุณภาพสากล มาตรฐานความเป็นชาติไทยและมาตรฐานที่ชุมชนท้องถิ่นต้องการ
ลักษณะใดลักษณะหนึ่งต่อไปนี้
1. หลักสูตร คือ สิ่งที่สร้างขึ้นในลักษณะของรายวิชา ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อสาระที่จัดเรียงลำดับความยากง่าย หรือเป็นขั้นตอนอย่างดีแล้ว 2. หลักสูตร ประกอบด้วยประสบการณ์ทางเรียนซึ่งได้วางแผนล่วงหน้าเพื่อมุ่งหวังจะให้เด็กได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในทางที่ต้องการ 3.หลักสูตร เป็นสิ่งที่สังคมสร้างขึ้นสำหรับให้ประสบการณ์ทางการศึกษาแก่เด็กในโรงเรียน
4. หลักสูตร ประกอบด้วยมวลประสบการณ์ทั้งหมดของผู้เรียน ซึ่งเขาได้ทำได้รับรู้ และได้ตอบสนองต่อการแนะแนวของโรงเรียน
หลักสูตร หมายถึง แผนงานที่จัดขึ้นทางการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนเข้าศึกการศึกษาตามแบบแผนที่แต่กำหนด และเพื่อให้บรรลุตามจุดประสงค์ และพัฒนาผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพ


"บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาหลักสูตร โดย   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดก...