วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561

กิจกรรมบทที่1 (1)



1.สืบค้นจากหนังสือหรือในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เรื่อง นิยาม ความหมาย : ทฤษฎีหลักสูตร ทฤษฎีหลักสูตร ทฤษฎีการพัฒนาหลลักสูตร




ทฤษฎีหลักสูตร : นิยาม ความหมาย

                “ทฤษฎี (Theory)” มาจากภาษากรีกว่า Theoria หมายความว่า การตื่นตัวของจิตใจ ดังนั้นทฤษฎีเป็นลักษณะของการมองความจริงอันบริสุทธิ์

ความสำคัญของทฤษฎี•

                ตามทัศนะของโบแชมพ์ (Beauchamp 1981: 11) กล่าวว่า ความสำคัญของทฤษฎีจะช่วยให้เราเข้าใจ 3 ประการ ได้แก่ (1.) บอกให้ทราบปรากฏการณ์ต่างๆ (2.) อธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น (3.) ทำนายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น

การสร้างทฤษฏีหลักสูตร•

                โบแชมพ์ (Beauchamp 1981: 77) ได้เสนอว่าทฤษฎีหลักสูตรแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design theories) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories)
1.) ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design theories)
การออกแบบหลักสูตร (Curriculum design) หมายถึง การจัดส่วนประกอบหรือองค์ประกอบของหลักสูตรซึ่งได้แก่ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา สาระ กิจกรรมการเรียนและการประเมินผล
               Zais (1976: 431-437) ได้สรุปการออกแบบหลักสูตร ประกอบด้วยแนวคิดหลักสูตร 2 แบบ คือ หลักสูตรแห่งความหลุดพ้น (Unencapsulation design) และหลักสูตรมนุษยนิยม (Humanisticdesign) หลักสูตรแห่งความหลุดพ้นมีความเชื่อว่า คนเราจะมีความรู้ความเข้าใจสิ่งต่างๆ 4 ทาง ได้แก่

1.) ความมีเหตุผล (Rationalism) นำไปสู่ความจริง
2.) การสังเกต (Empiricism) รับรู้ได้จากการมอง การได้กลิ่น การได้ยิน การสัมผัส
3.) สัญชาตญาณ (Intuition) ความรู้สึกต่อสิ่งหนึ่งโดยมิได้มีใครบอกกล่าว
4.) อำนาจ (Authoritarianism) เช่น ความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อในสิ่งที่ปราชญ์บอกไว้

2. ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories)

                ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories) หมายถึง กระบวนการทุกอย่างที่จำเป็นในการทำให้ระบบหลักสูตรเกิดขึ้นในโรงเรียนได้แก่ การสร้างหรือจัดทำหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินหลักสูตรและระบบหลักสูตร

                ถ่ายทอดประสบการณ์ถึงผู้เรียนได้มีหลายรูปแบบ ได้แก่ รูปแบบการบริหาร รูปแบบการปฏิบัติการ รูปแบบการสาธิต รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติ และรูปแบบการใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานสำหรับการกำหนดหลักสูตร

                ทฤษฏีหลักสูตรจะช่วยในการบริหารงานเกี่ยวกับหลักสูตรให้มี หลักเกณฑ์ หลักการ และระบบมากยิ่งขึ้น เช่น การสร้างหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร และการประเมินหลักสูตรการจัดบุคลากร เกี่ยวกับหลักสูตร การทำให้องค์ประกอบของหลักสูตรที่จะนำไปใช้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น


กระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดแบบจำลอง SU Model

           กระบวรการพัฒนาหลักสูตร (สามเหลี่ยมใหญ่) จะประกอบด้วยขั้นตอนในการจัดทำ ซึ่งแบ่งสามเหลี่ยมใหญ่ออกเป็นสามเหลี่ยมเล็กๆ สี่ช่อง หมายถึง 4 ขั้นตอนในกระบวนการ
                ช่องแรก ส่วนบนสุด อยู่ติดกับมุมความรู้ คือ "การวางแผนหลักสูตร" (Curriculum Planning)
                อาศัยแนวคิดการพัฒนาหลักสูตรของไทเลอร์ คำถามแรกคือ มีจุดมุ่งหมายอะไรบ้างในการศึกษาที่โรงเรียนต้องแสวงหา เพราะว่าหลักสูตรต้องมีจุดหมายที่ชัดเจน เพื่อนำไปวางแผนหลักสูตร ต้องมีการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร

                ช่องที่สอง อยู่ที่มุมของผู้เรียน หรือมุมซ้าย คือ "การออกแบบหลักสูตร" (Curriculum Design)
                เป็นการนำจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมาจัดทำกรอบการปฏิบัติ โดยหลักสูตรที่จัดทำขึ้นจะมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้ได้รับการพัฒนาตามกร
ทฤษฎีการพัฒนาหลักสูตร
การศึกษาเป็นรากฐานของการพัฒนาระบบสังคม การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ได้ในชีวิตของผู้เรียนและสามารถนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปทำประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งหลักสูตรจัดเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาศึกษา มีการผสมผสานมโนทัศน์ความคิดรวมยอดเกี่ยวกับแนวทางและความเป็นไปได้ของการจัดการศึกษาที่มีระบบ และได้นำทฤษฎีทางการศึกษามาปรับประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการจัดการศึกษา ทฤษฎีต่างๆ เกิดจากข้อเท็จจริงซึ่งค้นพบได้จากการใช้การพิสูจน์ และการใช้ข้อสรุปจากกฎที่ตั้งไว้จากการสังเกต มิใช่อาศัยเหตุและผลและนำมาสรุปไว้เป็นกฎและหลักการ ทฤษฎีเกี่ยวกับการสังเคราะห์และนำไปสู้การสร้างกฎที่ใช้ได้ทั่วไป

 มีความเป็นสากล (Universal) สามารถพิสูจน์ทดลองได้ (Testable) และมีส่วนประกอบ (Element) ที่เหมือนกัน ทฤษฎีทำหน้าที่ อธิบาย และความหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานที่มีระเบียบแบบแผน นำไปสู่การคาดคะเนข้อมูลได้โดยอิงหลักฐานเชิงประจักษ์ และนำไปสู้การยืนยันว่าทฤษฎีที่ตั้งขึ้นมีความถูกต้องและน่าจะเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

"บล็อกนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาหลักสูตร โดย   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิจิตรา ธงพานิช สาขาหลักสูตรและนวัตกรรมการจัดก...